เกร็ดความรู้

เปรียบเทียบวัคซีนโควิด-19 VS วัคซีนทางเลือกที่ต้องรู้

ปัจจุบัน “วัคซีนโควิด-19” นับเป็นอีกหนึ่งความหวังที่จะช่วยลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก รวมทั้งในประเทศไทย โดยเรื่องนี้ กลัฟเท็กซ์ เองได้เกาะติดสถานการ์ณอย่างใกล้ชิด เพื่อหาทางป้องกันตัวเราเองและคนรอบข้างไปด้วย โดยเริ่มวางแผนและหาข้อมูลในการรับวัคซีน ว่าจุดบริการที่ไหน หรือแม้แต่ยี่ห้อที่เราจะได้รับคืออะไร ซึ่งในปัจจุบันมีวัคซีนหลากหลายยี่ห้อที่ผลิตออกมา ท่ามกลางความสงสัย ว่าวัคซีนไหนสามารถป้องกันเชื้อได้มากน้อยเพียงไร?

ปัจจุบัน “วัคซีนโควิด-19” นับเป็นอีกหนึ่งความหวังที่จะช่วยลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก รวมทั้งในประเทศไทย โดยเรื่องนี้ กลัฟเท็กซ์ เองได้เกาะติดสถานการ์ณอย่างใกล้ชิด เพื่อหาทางป้องกันตัวเราเองและคนรอบข้างไปด้วย โดยเริ่มวางแผนและหาข้อมูลในการรับวัคซีน ว่าจุดบริการที่ไหน หรือแม้แต่ยี่ห้อที่เราจะได้รับคืออะไร ซึ่งในปัจจุบันมีวัคซีนหลากหลายยี่ห้อที่ผลิตออกมา ท่ามกลางความสงสัย ว่าวัคซีนไหนสามารถป้องกันเชื้อได้มากน้อยเพียงไร? ขณะเดียวกันรัฐบาลก็อนุญาตให้เอกชนนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ได้เพื่อเป็นทางเลือกอีกทาง วันนี้  กลัฟเท็กซ์ สรุปข้อมูลที่ควรรู้มาฝาก มาดูกันว่าวัคซีนที่ทางภาครัฐจัดหาให้มีอะไรบ้างและวัคซีนทางเลือกมีอะไรบ้าง
วัคซีนของรัฐ
  1. ซิโนแวค (Sinovac)  ซื้อแล้ว 6 ล้านโดส สั่งเพิ่ม 3 ล้านโดส (ขึ้นทะเบียน อย.แล้ว)
  2. แอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ซื้อแล้ว 61 ล้านโดส  (ขึ้นทะเบียน อย.แล้ว)
  3. ไฟเซอร์ (Pfizer) กำลังสั่งซื้อ 10-20 ล้านโดส (กำลังยื่นคำขอขึ้นทะเบียน อย.)
  4. จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson) กำลังสั่งซื้อ 5-10 ล้านโดส (ขึ้นทะเบียน อย.แล้ว)
  5. สปุตนิก วี (Sputnik V) กำลังสั่งซื้อ  5-10 ล้านโดส (กำลังยื่นคำขอขึ้นทะเบียน อย.)
วัคซีนทางเลือก
  1. โมเดอร์นา  (Moderna) (ขึ้นทะเบียน อย.แล้ว)
  2. ซิโนฟาร์ม  (Sinopharm) (ยังไม่ขึ้นทะเบียน อย.)
  3. บารัต (Bharat) (กำลังยื่นคำขอขึ้นทะเบียน อย.)
นอกเหนือจากรายชื่อวัคซีนต่างๆ ที่ทั้งทางภาครัฐจัดหามาให้ หรือ วัคซีนทางเลือกมีอะไรบ้างแล้ว กลัฟเท็กซ์จะเปรียบเทียบให้ทุกท่านเข้าใจถึงประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ในปัจุบัน มี 4 ชนิดหลัก แต่ละตัวที่เป็นอย่างไรบ้าง
  • แบรนด์ Pfizer จากสหรัฐอเมริกา ชื่อวัคซีน BNT 162 ใช้เทคนิค mRNA มีประสิทธิภาพของวัคซีนสูงถึง 90-95% ต้องฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 2 ครั้ง แต่ละครั้ง ระยะเวลาห่างกัน 3 สัปดาห์ วัคซีนตัวนี้ มี 50 ประเทศ ที่อนุมัติให้ใช้
  • แบรนด์ MODERNA จากสหรัฐอเมริกา ชื่อวัคซีน mRNA-1273 ใช้เทคนิค mRNA มีประสิทธิภาพของวัคซีน 94.5% ต้องฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 2 ครั้ง แต่ละครั้ง ระยะเวลาห่างกัน 4 สัปดาห์ วัคซีนตัวนี้ มี 36 ประเทศ ที่อนุมัติให้ใช้
  • แบรนด์ AstraZeneca จากอังกฤษ ชื่อวัคซีน AZD1222 ใช้เทคนิค Adenovirus พาหะ มีประสิทธิภาพของวัคซีนเฉลี่ย 70.4% ต้องฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 2 ครั้ง แต่ละครั้ง ระยะเวลาห่างกัน 4 สัปดาห์ วัคซีนตัวนี้มี 7 ประเทศ ที่อนุมัติให้ใช้วัคซีนตัวนี้
  • แบรนด์ SINOVAC จากจีน ชื่อวัคซีน Coronavac ใช้เทคนิค วัคซีนเชื้อตาย มีประสิทธิภาพของวัคซีน 50.3% ต้องฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 2 ครั้ง แต่ละครั้ง ระยะเวลาห่างกัน 2-4 สัปดาห์ ใน วัคซีนตัวนี้ มี 3 ประเทศ ที่อนุมัติให้ใช้

จากตารางและผลข้อมูลที่เชื่อว่าหลายคนได้เห็น ทำให้เกิดเสียงจากประชาชนมากมาย ไม่ว่าจะตอนนี้อยากฉีดตัวไหนก็ได้ ฉีดไปก่อน บางคนก็บอกว่าไม่กล้าฉีด อยากจะรอวัคซีนตัวอื่นเข้ามา แล้วทุกคนมีความคิดเห็นยังไงกันบ้าง? กล้าฉีดไหม? เพราะจากข้อมูลตอนนี้รัฐก็สนับสนุนให้ฉีดวัคซีนไปก่อนเพื่อลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต แต่อีกมุมหลายคนก็กลัวที่จะฉีดแล้วเกิดผลข้างเคียงเช่นเดียวกัน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับผลการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนและสถานการณ์ของเชื้อกลายพันธุ์ ณ ขณะนั้นด้วยนะครับ

 

 

 

แหล่งอ้างอิง
  1. facebook/Noppacharn Uaprasert
  2. ศูนย์เฝ้าระวังโควิด-19
  3. innnews.com