อุบัติเหตุที่เกิดทางศีรษะเป็นอุบัติเหตุที่น่ากลัวและสามารถเปลี่ยนชีวิตของคุณได้ทั้งชีวิต ดังนั้นเราจึงอยากให้ทุกคนตระหนักถึงการส่วมใส่ อุปกรณ์เซฟตี้ PPE ในการทำงานโดยเฉพาะ หมวกเซฟตี้ ตัวเลขอุบัติเหตุและเสียชีวิตดังต่อไปนี้เป็นตัวเลขของอ้างอิงจากประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปี 2012 อุบัติเหตุมากกว่า 65,000 เคสเกิดขึ้นต่อวันจากอุบัติเหตุทางศีรษะที่เกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน และในปีเดียวกันนั้นมีการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางศีรษะในที่ทำงาน 1,000 คนรู้หรือไม่ ? ว่าหมวกนิรภัยในที่ใช้กันอยู่ มีมาตรฐานอะไรบ้าง
หมวกนิรภัย หรือ หมวกเซฟตี้ (Safety Helmet) หลายๆ ท่านอาจจะรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เพราะตัวชื่อเองก็บอกวัตถุประสงค์ของหมวกชนิดนี้อย่างชัดเจน ว่ามีไว้เพื่อ ป้องกันอัตรายในการปฏิบัติหน้าที่ที่มีความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น หรือมีสิ่งของตกกระแทรกศีรษะของเราได้ตลอดเวลา
ซึ่งตามที่เห็นๆ กัน หมวกนิรภัยจะมีหลายสีมาก วันนี้กลัฟเท็กซ์ จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับสีของหมวกนิรภัย ว่าแต่ละสีมีความสำคัญอย่างไร และแต่ละสีใช้สำหรับใครกันบ้างกันครับ
อุบัติเหตุทางศีรษะ หรือการได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง (Traumatic brain injuries) สามารถส่งผลถึงชีวิตหรือพิการ ซึ่งในสหรัฐอเมริกา 30% ของผู้ที่ได้รับการกระทบกระเทือนทางศีรษะเสียชีวิต (Hex armor, 2019) และยิ่งไปกว่านั้นผลสำรวจของ the Bureau of Labor Statistics (BLS) โชว์ว่า 84% ของพนักงานที่เกิดอุบัติเหตุทางศีรษะเกิดจากไม่ได้ส่วมใส่หมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้
วัสดุของหมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้
วัสดุในการใช้ทำหมวกเซฟตี้ หรือหมวกนิรภัยมีทั้งหมวก 3 อย่าง คือ ทำด้วยพลาสติก ไฟเบอร์กลาส และโลหะ
หมวกนิรภัยทำด้วยพลาสติก มีสี่ประเภท
- เหนียว ยืดยุนดี ทนทาน น้ำหนักเบา
- ทนกรด และด่างอ่อน
- ไม่ทนน้ำมันและความร้อนที่อุณหภูมิสูง
- เหนียว ยืดยุนดี ทนทานกว่าตัว โพลีเอทีลีน (PE)
- สามารถทนความร้อนได้
- เป็นหมวกเซฟตี้ที่มีความเหนียว และยืดยุ่นดีกว่า ABS
- เหมาะสำหรับ งานก่อสร้าง งานเกี่ยวกับเคมี งานเกี่ยวกับเไฟฟ้า
- มีความแข็งแรง และกันกระแทกได้ดี ไม่เป็นรอยง่าย
- ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า
- กันสารเคมีเช่น กรด แอลกอฮอล์ น้ำมัน ไฮโดริก
หมวกนิรภัยทำด้วยไฟเบอร์กลาส
- น้ำหนักเบา แข็งแรง ทนทานกว่า HDPE และABS
- สามารถทนความร้อนได้ถถึง 500℃
- สามารถกันสารเคมีเช่น กรด น้ำมัน
- สามารถรีไซเคิลได้
- เหมาะสำหรับ โรงผลิตเหล็ก น้ำมัน หรืองานที่มีรังสีความร้อน
มาตรฐานของหมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้
หมวกนิรภัยมีหลากหลายประเภทซึ่งแต่ละประเภทจะผ่านการทดสอบที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น การเลือกใช้หมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้ที่เหมาะสมกับหน้างานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ มาตราฐานของหมวกเซฟตี้มีทั้งหมด 5 มาตราฐาน ซึ่งได้แก่ Osha Standard, Ansi/Isea Z89.1 standard, En Standard, CSA Z94.1 Standard และ มาตราฐาน มอก.OSH Standard มาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ๕ มาตรฐาน
มาตรฐานการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (มปอ. 402 : 2561)
เพื่อให้มีข้อกำหนดขั้นต่ำและวิธีการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ อีกทั้งยังเป็นแนวทางให้บุคลากรด้านความปลอดภัยในการทำงาน ใช้เป็นมาตรฐานในการดำเนินการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงเพื่อนำไปสู่การจัดการเพื่อการป้องกัน ควบคุม และแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีประสิทธิภาพต่อไป
มาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (มปอ.401: 2561)
เพื่อให้สถานประกอบกิจการมีแนวทางในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2553 สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ จึงได้จัดทำมาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (มปอ. 401: 2561) ขึ้น อีกทั้งสถานประกอบกิจการหรือหน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่ได้อยู่ในขอบข่ายการใช้บังคับก็สามารถนำมาตรฐานฉบับนี้ไปดำเนินการในการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานขององค์กรให้เป็นระบบอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความปลอดภัยของคนทำงานทุกคนและสามารถพัฒนาศักยภาพองค์กรสู่มาตรฐานสากลได้ต่อไป
มาตรฐานการยกและเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยแรงกายตามหลักการยศาสตร์ (มปอ. 302 : 2561)
เป็นมาตรฐานที่สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการมีแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับวัสดุที่จะต้องยกและเคลื่อนย้ายด้วยแรงกาย การออกแบบปรับปรุงสถานีงาน สภาพแวดล้อมของบริเวณที่ปฏิบัติงานและการบริหารจัดการ รวมถึงการดูแลพฤติกรรมของลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานยกและเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยแรงกาย ให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก อันเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงและมีจำนวนมากขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน
มาตรฐานการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการยศาสตร์ (มปอ. 301 : 2561)
เป็นมาตรฐานที่จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานและสถานประกอบกิจการดำเนินการปรับปรุงสภาพการทำงานในสำนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมแก่ลูกจ้างตามหลักการยศาสตร์ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมปัจจัยสำคัญของการปรับปรุงงานคอมพิวเตอร์ ได้แก่ สถานีงานคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สภาพแวดล้อมในบริเวณสถานีงาน และการบริหารจัดการงานคอมพิวเตอร์ เมื่อดำเนินการปรับปรุงสภาพการทำงานตามข้อกำหนดในมาตรฐานนี้แล้ว เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานสามารถใช้แบบประเมินท่าทางในการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ของลูกจ้าง และปรับปรุงให้สอดคล้องกับท่าทางการปฏิบัติงานที่แนะนำในมาตรฐาน นอกจากนี้มาตรฐานนี้ได้แนะนำท่าบริหารร่างกายที่ลูกจ้างสามารถปฏิบัติได้อย่างง่าย ๆ ในระหว่างวันทำงาน เพื่อผ่อนคลายอาการปวดเมื่อยที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สร้างความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อที่ใช้งานมากในขณะปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ และสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อที่อ่อนแรงเนื่องจากไม่ได้ใช้งาน
มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง (มปอ. 101 : 2561)
เป็นมาตรฐานที่สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯจัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการใช้บังคับกฎหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง โดยมีสาระสำคัญบางส่วนที่ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติได้ตามกฎหมาย และบางส่วนที่เป็นมาตรฐานการทำงานบนที่สูงในลักษณะงานที่อาจมีอันตรายจากการปฏิบัติงานแม้ยังมิได้มีการบังคับใช้ตามกฎหมายมาตรฐานหมวกนิรภัยตาม ANSI Standard Z89.1-2003
ขอบเขตและการใช้งาน
มาตรฐานนี้อธิบายถึง ประเภทหมวกนิรภัย และระดับของหมวกนิรภัย การทดสอบและความต้องการด้านประสิทธิภาพของหมวก รวมถึงความต้องการด้านความปลอดภัยต่างๆ โดยความต้องการด้านประสิทธิภาพพื้นฐานจะถูกกำหนดด้วย การป้องกันจากการกระแทก การเจาะ และการกันไฟฟ้า ซึ่งเป็นเพียงการลดแรงเท่านั้น ไม่ใช่ให้สามารถกันได้อย่างสมบูรณ์จากการกระแทกอย่างรุนแรง หมวกนิรภัยควรจะสามารถทนได้ต่อการตกใส่ของเครื่องมือเล็กๆ น็อต สกรู ชิ้นส่วนของไม้ เป็นต้น
ประเภทของหมวกนิรภัย
มาตรฐาน ANSI Z89.1-2003 แบ่งหมวกนิรภัยออกได้ตามลักษณะของการกันกระแทก และการกันไฟฟ้า
โดยทั่วไปหมวกนิรภัยควรจะกันกระแทกได้ในแบบประเภท 1 หรือไม่ก็ประเภทที่ 2
หมวกนิรภัย ประเภทที่ 1
หมวกนิรภัยประเภทนี้จะถูกออกแบบให้สามารถกันกระแทกจากด้านบน แต่ไม่ออกแบบสำหรับกันกระแทกจาก้านข้าง
หมวกนิรภัย ประเภทที่ 2
หมวกนิรภัยประเภทนี้จะถูกออกแบบให้สามารถกันกระแทกได้ทั้งจากด้านบนและด้านข้างหมวกนิรภัย ประเภทที่ E
ตัว E ย่อมาจาก Electrical ดังนั้นหมวกนิรภัยประเภทนี้จึงออกแบบเพื่อให้สามารถกันไฟฟ้าได้ดี โดยจะต้องผ่านทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 20,000 โวลต์ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง)
หมวกนิรภัย ประเภทที่ G
ตัว G ย่อมาจาก General หมวกนิรภัยประเภทนี้จะต้องผ่านทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 2,200 โวลต์
หมวกนิรภัย ประเภทที่ C
ตัว C ย่อมาจาก Conductive หมวกนิรภัยประเภทนี้ไม่กันไฟฟ้า และไม่มีการทดสอบการกันไฟฟ้า
การระบุเครื่องหมาย
หมวกนิรภัยควรจะมีชื่อ หรือสัญลักษณ์ของผู้ผลิต วันที่ผลิต เครื่องหมายมาตรฐาน ANSI และขนาดหมวกการทดสอบประสิทธิภาพหมวก ตาม ANSI Z89.2003
ประสิทธิภาพ | การทดสอบหมวกนิรภัย |
การกันไฟ Flammability | ทดสอบสำหรับทั้งหมวกนิรภัยประเภทที่ 1 และ 2ที่ตั้งหมวกจะต้องทำให้หมวกมีลักษณะเหมือนในการสวมใส่จริงพ่นไฟเป็นเวลา 5 วินาทีที่อุณหภูมิ 800 – 900º C (1472º – 1652º F) บริเวณด้านนอกของหมวกหมวกนิรภัยไม่ควรมีร่องรอยของการไหม้หลังจากการทดสอบ |
การกันกระแทก Force Transmission(Impact) | ทดสอบสำหรับทั้งหมวกนิรภัยประเภทที่ 1 และ 2ทดสอบหมวกในสภาพอากาศเย็น 12 ประเภทและสภาพอากาศร้อน 12 ประเภท เพื่อทดสอบการกระแทกที่ความเร็ว ณ จุดกระทบ 5.5 เมตร/วินาที โดยวัตถุที่ตกกระทบควรมีน้ำหนัก 3.6 กิโลกรัมค่าที่เกิดจาการทดสอบ และค่าเฉลี่ยจากสภาพการทดสอบทั้ง 24 แบบจะต้องมีการบันทึกพร้อมกับความเร็วการตกกระทบค่าเฉลี่ยของแรงที่ส่งผ่านตัวหมวกไม่ควรเกิน 3780 N |
การเจาะทะลุ Apex Penetration | ทดสอบสำหรับทั้งหมวกนิรภัยประเภทที่ 1 และ 2การทดสอบจะต้องทำให้หมวกมีลักษณะเหมือนในการสวมใส่จริงวัตถุที่จะมาเจาะหมวกจะต้องพุ่งมาในบริเวณเส้นรอบวง ไม่เกินรัศมี 75 mm (3.0 in) จากกึ่งกลางหมวกวัตถุที่จะมาเจาะหมวกต้องมีน้ำหนัก 1.0 กิโลกรัม ตกจากความสูงที่จะทำให้เกิดความเร็ว ณ จุดกระทบ 7.0 เมตร/วินาทีวัตถุที่มาเจาะไม่ควรที่จะติดกับเนื้อหมวก ไม่ว่าจะในสภาพใดก็ตาม |
การกันไฟฟ้า | ทดสอบสำหรับทั้งหมวกนิรภัยประเภทที่ 1 และ 2หมวกนิรภัยประเภท E ออกแบบเพื่อให้สามารถกันอันตรายจากไฟฟ้าได้ โดยจะต้องผ่านทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 20,000 โวลต์ โดยหมวกจะถูกทดสอบการกันกระแทกก่อน แล้วทดสอบการกันไฟฟ้าที่ 20,000 โวลต์ เป็นเวลา 3 นาทีที่9 มิลลิแอมป์ว่าไม่มีการรั่วเข้าในหมวก แล้วทดสอบที่ 30,000 โวลต์เพื่อดูว่าไม่มีรอยไหม้หรือไม่หมวกนิรภัยประเภท G ออกแบบเพื่อให้สามารถกันไฟฟ้าแบบอ่อนได้ โดยจะต้องผ่านทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 2,200 โวลต์ โดยหมวกจะถูกทดสอบ เป็นเวลา 1 นาทีที่3 มิลลิแอมป์ว่าไม่มีการรั่วเข้าในหมวกหมวกนิรภัยประเภท C ไม่มีการทดสอบการกันไฟฟ้า |
การดูดซับพลังงานการกระแทกImpact Energy Attenuation | ทดสอบสำหรับเฉพาะหมวกนิรภัยประเภทที่ 2 |
การเจาะทะลุนอกหนือจากศูนย์กลางหมวกOff center penetration | ทดสอบสำหรับเฉพาะหมวกนิรภัยประเภทที่ 2 |
การคืนตัวของรองในหมวกChin strap retention | ทดสอบสำหรับเฉพาะหมวกนิรภัยประเภทที่ 2 |
หมวกในมาตรฐานนี้ก็มีหลากหลายสีให้เลือก หลายๆท่านก็อาจจะมีคำถามว่า สีที่ต่างกัน มีความหมายหรือไม่ หรือแค่ทำมาเป็นแฟชั่น หากสงสัย เรามีคำตอบ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ คลิกที่นี่
En Standard มาตรฐานยุโรปข้อกำหนดอุตสาหกรรม
EN812 ซึ่งเป็นมาตรฐานยุโรปจะมีการอธิบายข้อกำหนดทางกายภาพและสมรรถนะและการทำเครื่องหมายสำหรับหัวกระแทกอุตสาหกรรมและนำเสนอวิธีการทดสอบ มาตรฐานนี้ได้รับการเผยแพร่ในประเทศของเราโดย Turkish Standards Institute (TSE) โดยมีหัวข้อต่อไปนี้: EN 812 Heads ที่ใช้กับผลกระทบในอุตสาหกรรม
หมวกกันน็อกกันกระแทกต่างจากหมวกกันน็อคอุตสาหกรรมที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องผู้สวมใส่จากวัตถุที่อยู่นิ่งเท่านั้นเช่นการเดินใต้เพดานเตี้ย ๆ หรือสิ่งกีดขวางที่แขวนอยู่ ด้วยเหตุนี้การทดสอบแรงกระแทกจึงดำเนินการคล้ายกับที่จำเป็นสำหรับหมวกกันน็อคที่ใช้ในอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามจะใช้ระดับพลังงานที่ต่ำกว่า ตัวอย่างเช่นน้ำหนัก 250 กก. จากความสูง 5 มม. จะถูกทิ้งลงบนหมวกนิรภัยด้วยแรงสูงสุดที่อนุญาต เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะที่แท้จริงของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้งานมักจะมีการนัดหยุดงานที่ด้านหน้าและด้านหลังของหมวกกันน็อคโดยมีความเอียง 30 และ 60 องศาแนบ. ในขณะที่ทำการทดสอบเหล่านี้จะมีการทดสอบสภาวะต่างๆเช่นอุณหภูมิสูงอุณหภูมิต่ำการแช่ในน้ำและการเสื่อมสภาพของรังสีอัลตราไวโอเลตบนตัวอย่างหมวกกันน็อค
หมวกกันน็อคที่ใช้ป้องกันผลกระทบในอุตสาหกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันวัตถุมีคมหรือปลายแหลม ดังนั้นจึงมีการทดสอบการเจาะบนหมวกกันน็อคด้วย วิธีการทดสอบนี้ยังใช้วิธีการที่คล้ายกับการทดสอบการดูดซับแรงกระแทก เช่นเดียวกับการดูดซับแรงกระแทกการทดสอบการเจาะในมาตรฐาน EN 812 จะดำเนินการที่พลังงานต่ำกว่าที่ระบุไว้ในมาตรฐาน EN 397 เพื่อสะท้อนถึงลักษณะของอันตราย เช่นเดียวกับในการทดสอบแรงกระแทกจะมีการทดสอบเงื่อนไขต่างๆเช่นอุณหภูมิสูงอุณหภูมิต่ำการแช่ในน้ำและการเสื่อมสภาพของรังสีอัลตราไวโอเลตบนตัวอย่างหมวกกันน็อค
ข้อกำหนดหลายประการสำหรับหมวกนิรภัยมีข้อกำหนดหลายประการสำหรับการออกแบบหมวกนิรภัยนอกเหนือจากข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพเฉพาะ สิ่งเหล่านี้โดยทั่วไปรวมถึงทั้งความครอบคลุมที่หมวกกันน็อคและมุมมองที่ให้ไว้กับผู้ใช้ นอกจากนี้หมวกกันน็อคยังครอบคลุมตามหลักสรีรศาสตร์และข้อกำหนดด้านความปลอดภัยอีกหลายประเภท
องค์กรของเราซึ่งพยายามสนับสนุนธุรกิจจากทุกภาคส่วนด้วยการทดสอบการวัดการวิเคราะห์และการประเมินผลที่หลากหลายมานานหลายปียังให้บริการทดสอบหมวกที่ใช้ในอุตสาหกรรม EN 812 ภายใต้กรอบของบริการทดสอบถุงมือด้วย พนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมและเชี่ยวชาญและอุปกรณ์เทคโนโลยีขั้นสูงเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก)
ปัจจุบันสินค้าที่ สมอ. กำหนดเป็นมาตรฐานปัจจุบันมีอยู่กว่า 2,000 เรื่อง ครอบคลุมสินค้าที่เราใช้ อยู่ในชีวิตประจำวันหลายๆ ประเภท สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐาน แห่งชาติ มีหน้าที่ดำเนินการกำหนดมาตรฐาน และมาตรฐานที่เกี่ยวกับหมวกนิรภัยหรือหมวกเซฟตี้คือ มอก. 368-2562
ผลิตภัณฑ์ที่แสดงเครื่องหมายมอก.ได้นั้น ต้องได้รับการตรวจสอบจากสมอ.แล้วว่ามีคุณภาพเป็นไปตาม ที่กำหนดถ้าผ่าน สมอ.จะออกใบอนุญาตให้ผู้ผลิตแสดงเครื่องหมาย มอก.ที่ผลิตภัณฑ์ของตนได้ หลังจากนั้นสมอ.ก็จะมีการติดตามผลโดยการตรวจสอบระบบควบคุมคุณภาพของโรงงานและสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ทั้งจากโรงงานสถานที่นำเข้าและสถานที่จำหน่ายมาตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่แสดง เครื่องหมายมอก. จะมีคุณภาพตามมาตรฐานและโรงงานยังสามารถรักษาคุณภาพไว้ได้ตามที่กำหนด
หลักเกณฑ์ตรวจสอบเพื่อขออนุญาต
คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อการอนุญาต ของ สมอ. มีหลักการ 2 ประการ คือ ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด และ ผู้ผลิตมีระบบการควบคุมคุณภาพเพียงพอที่จะรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานได้อย่างสม่ำเสมอ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว พอจะได้ความรู้ ความเข้าใจบ้างไหมเอ่ย แต่แอดมินก็มั่นใจว่า ทุกท่านที่อ่านมาจนจบ ก็ต้องเข้าใจในเรื่องมาตรฐานหมวกนิรภัยไม่มากก็นี้ และเราก็ต้องขอขอบคุณทุกท่าน ที่อ่านบทความของเรามาจนจบนี้ และมีข้อสงสัย ต้องการสอบถาม หรือสั่งซื้อสินค้าเกี่ยวกับความปลอดภัย ก็สามารถทักเข้ามาได้ทุกวัน จันทร์ – เสาร์ เวลา 08:00 – 17:00
สอบถามข้อมูลตัวแทนฝ่ายขายเพิ่มเติม หรือขอใบเสนอราคา
ได้ที่ Call Center : 063 565 6789
หรือสามารคติดตามเราได้ที่ : Click
Tel. 083 989 7512 (เพื่อสอบถาม หรือขอใบเสนอราคา)
Line: @microtex หรือ Click