รองเท้าเซฟตี้หรือรองเท้านิรภัย เป็นอุปกรณ์ป้องกันชนิดหนึ่ง สำหรับปกป้องเท้าของผู้ใช้งานให้ปลอดภัยจากการเกิดอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติงาน ไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดความเสียหายต่อเท้าได้ จะมักถูกนำไปใช้เมื่อต้องทำงานในพื้นที่เสี่ยงอันตราย เช่น งานในโรงงานที่มีการใช้เครื่องจักร หรือคลังสินค้าที่มีการใช้รถโฟล์คลิฟท์ , งานในเขตก่อสร้าง การทำงานในพื้นที่ที่มีคราบน้ำมันที่ เลี่ยงต่อการลื่น หรือกระแสไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งสามารถเกิดอุบัติเหตุกับเท้าของเราได้ หากไม่ระมัดระวังในการทำงาน ดังนั้นการสวมใส่รองเท้าเซฟตี้ที่ถูกประเภท จะช่วยป้องกันเท้าได้ดีที่สุด
การเลือกรองเท้าเซฟตี้มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพของการใช้งานเป็นอย่างมาก ทั้งเรื่องดีไซน์ น้ำหนัก วัสดุ รวมไปถึงความสวยงามก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน
อันดับแรก ควรเริ่มจากการทำการประเมินความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติหน้าที่ กับสภาพแวดล้อมของการทำงานก่อน ว่าแบบไหนจึงจะเหมาะสม เช่นหน้างานพื้นมีวัตถุอันตราย มีความร้อน เสี่ยงต่อการลื้นล้ม ทิ่มแทง-เจาะทะลุ หรือถูกกดทับด้วยของหนักและเครื่องจักร
ลำดับต่อมา ทำความเข้าใจกับ 5 ส่วนหลักของรองเท้าเซฟตี้ว่าเหมาะกับหน้างานหรือไม่ โดย 5 ส่วนหลักคือ
หนังรองเท้า
จะมีให้เลือกตั้งแต่หนังแท้ (หนังวัว หนังควาย) หรือหนังสังเคราะห์ (หนังเทียม) เช่น PU หรือ PVC โดยหนังแท้จะมีความหนักกว่าหนังสังเคราะห์ แต่สามารถทนความร้อน สารเคมี การเสียดสี ได้ดีกว่าหนังสังเคราะห์ และปัจจุบันจะมีการทำรองเท้าเซฟตี้ ที่ใช้วัสดุผ้า มาผลิตมากขึ้น ช่วยในเรื่องของน้ำหนักที่เบากว่า ยืดหยุ่น-กระชับ สวมใส่สบาย ระบายอากาศได้ดี สะดวกสบายและดีไซน์สวยทันสมัยขึ้น
แผ่นรองเท้าด้านใน
เป็นวัสดุส่วนที่ใช้รอง รองเท้าก่อนสัมผัสวัสดุพื้นรองเท้า มักใช้วัสดุที่อ่อนนุ่ม หรือยืดหยุ่น เพื่อเพิ่มความสบายในการสวมใส่ เช่น PU, EVA หรือ Memory Foam นอกจากนี้อาจมีการเพิ่มคุณสมบัติกันไฟฟ้าสถิตลงไป โดยใช้ด้ายเย็บเพื่อนำไฟฟ้าอีกด้วย
หัวรองเท้า กันกระแทก
เป็นวัสดุส่วนที่ใช้ในการป้องกันแรงกระแทก จากสิ่งของหล่นใส่ โดนทับ หรือเตะโดนสิ่งต่างๆ โดยมักทำจาก 4 วัสดุ คือ
เหล็กกล้า (Metal Steel) : เป็นวัสดุพิ้นฐานที่นิยมนำมาใช้เพื่อความป้องกัน แข็งแรง แต่มีน้ำหนักที่มากพอสมควร
อลูมิเนียม (Aluminums) : เป็นวัสดุโลหะที่มีคุณสมบัติป้องกันเท้าได้เทียบเท่าหัวกันกระแทกแบบเหล็ก และมีน้ำหนักเบากว่าหัวเหล็ก แต่ราคาสูงกว่าและรับแรงได้น้อยกว่า
คอมโพสิต (Composite) : รับแรงกระแทกได้เทียบเท่าหัวกันกระแทกแบบเหล็ก แต่จะมีน้ำหนักที่เบากว่ามาก ไม่นำไฟฟ้า ราคาสูงกว่าหัวเหล็ก
เรซิ่น (Resin) : เป็นหัวรองเท้าที่มีความยืดหยุ่น ไม่บีบรัดหน้าเท้า แต่รองรับแรกกระแทกได้น้อยกว่าวัสดึด้านบน เหมาะกันงานเบา
พื้นรองเท้าด้านนอก
พื้นรองเท้าส่วนใหญ่มักทำจากวัสดุ PU (POLYURETHANE SOLE) , TPU (THERMO POLYURETHANE SOLE) , NBR Rubber (ยางไนไตร) และ PVC โดยมีความเหมาะสมในการใช้งานต่างกัน โดย
พื้น TPU เหมาะกับงานกันสารเคมีหนัก เช่นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
พื้น PU เหมาะกับงานกันสารเคมีปานกลาง ที่อยู่ในอาคาร เช่น งานประกอบรถยนต์ งานพ่นสี
พื้น NBR เหมาะกับงานกันน้ำมัน และงานเกี่ยวกับความร้อน เพราะยางไนไตรทนความร้อนได้ดี
วัสดุเสริมป้องกันการเจาะทะลุ
เป็นวัสดุเสริม ที่ใช้สำหรับป้องกันการเจาะทะลุ จากสิ่งมีคมต่างๆที่อาจอยู่บนพื้นเช่น ตะปู เศษแก้ว และของมีคมอื่นๆ โดยวัสดุเสริมนี้เป็นตัวเลือก สำหรับผู้ที่ต้องการเท่านั้น
เมื่อประเมินความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติหน้าที่ และทราบถึงคุณลักษณะต่างๆ ขององค์ประกอบหลักแล้ว เท่านี้ ก็สามารถเลือกใช้รองเท้าเซฟตี้ที่เหมาะกับการใช้งานของคุณได้เลยครับ
เลือกดู “รองเท้าเซฟตี้คุณภาพ” รุ่นต่างๆ คลิก หรือ
· ทำไม? ต้องสวมรองเท้าเซฟตี้
· หมวกเซฟตี้