Knowledge

Food Safety และ Food Grade แตกต่างกันอย่างไร?

ในวงการอุตสาหกรรมอาหาร หรือแม้แต่ในชีวิตประจำวัน เรามักจะเคยได้ยินคำว่า “Food grade” และ “Food safe” ซึ่งทั้งสองคำนั้นมีความคล้ายคลึงกัน แต่ทว่ามีความหมายที่แตกต่างกัน ดังนี้ “Food grade” หมายถึงวัสดุที่เหมาะสมกับการสัมผัสอาหารโดยตรง ส่วน “Food safe” นั้นหมายถึง อุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมต่อการใช้กับอาหารความปลอดภัยทางอาหาร (food safety) หมายถึง การจัดการให้อาหาร และสินค้าเกษตรที่นำมาเป็นอาหารบริโภคสำหรับนุษย์ มีความปลอดภัย โดยไม่มีลักษณะเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้บริโภค ปลอดภัยจากอันตรายที่มาจากอาหาร ได้แก่

  • อันตรายทางชีวภาพ
  • อันตรายทางเคมี
  • อันตรายทางกายภาพ

สอบถามข้อมูลตัวแทนฝ่ายขายเพิ่มเติม หรือขอใบเสนอราคา

ได้ที่ Call Center: +66 34 878 762 ต่อ 3
Email: Contact-center@glovetex.com
หรือสามารคติดตามเราได้ที่: Click

Line: @microtex หรือ  เพิ่มเพื่อน

 
วัสดุที่เหมาะสมต่อการพิจารณาว่า “Food Safety” นั้นจะไม่มีสารพิษหรือส่วนผสมใดๆ ที่จะปะปนลงไปในอาหาร หรือก่อให้เกิดอันตรายได้ รวมถึงมีความแข็งแรง คงทนต่อการใช้งาน และสามารถทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง ไม่มีร่องหลืบ หรือจุดอับที่จะเป็นความเสี่ยงให้เกิดการหมักหมมของเศษอาหารและการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรค โดยหนึ่งในวัสดุ Food Safety ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารมากที่สุด คือ สแตนเลส

สแตนเลสมีหลายเกรด เช่น สแตนเลสเกรด 316 (SUS 316) สแตนเลสเกรด 304 (SUS 304) เป็นต้น โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเกรดของสแตนเลสนั้น คือ ความสามารถในการทนทานต่อสารเคมีและการกัดกร่อน ซึ่งเราจำเป็นที่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน เช่น สแตนเลสเกรด 316 ซึ่งมีราคาสูงกว่านั้น มีความสามารถคงทนต่อการกัดกร่อนมากกว่าสแตนเลสเกรด 304 ผู้ประกอบการจึงมักเลือกใช้สแตนเลสเกรด 316 ในอุปกรณ์หรือบริเวณที่สัมผัสอาหารโดยตรง โดยเฉพาะอาหารที่มีความเป็นกรดสูง เช่น บริเวณถังกวนส่วนผสม และเลือกใช้สแตนเลสเกรด 304 ที่มีราคาย่อมเยากว่าเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ในส่วนของอุปกรณ์ที่ไม่สัมผัสกับอาหารโดยตรง เช่น โครงสร้างของเครื่องจักร หรือสามารถใช้สัมผัสโดยตรงได้เช่นกันในกรณีอาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ เป็นต้น รวมถึงยังมีเกรดย่อย เช่น เกรด 304L ที่มีการลดองค์ประกอบของคาร์บอน ช่วยลดการตะกอนของคาร์ไบด์และลดการกัดกร่อนในระหว่างการเชื่อม จึงมักจะใช้เกรด 304L ในส่วนการเชื่อมถึงแม้จะมีความแข็งแรงน้อยกว่าเกรด 304 ก็ตาม หรือเกรด 304H ที่มีการเพิ่มองค์ประกอบของคาร์บอน ส่งผลให้คงทนต่ออุณหภูมิที่สูงกว่าเกรด 304 จึงมักนิยมใช้เกรด 304H ในจุดที่มีสภาวะอุณหภูมิสูงนั่นเอง วัสดุ Food Grade (ฟู้ดเกรด) คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการใส่ บรรจุอาหาร หรือจัดเก็บอาหาร หรือจัดเก็บอาหาร ที่มีความปลอดภัยต่อทั้งอาหาร และผู้บริโภค โดยไม่มีสารเคมี ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และต้องใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ ที่เหมาะสมกับประเภทของอาหารนั้น ๆ ด้วย เช่น บรรจุภัณฑ์อาหาร สำหรับไมโครเวฟ ที่สามารถใช้ร่วมกับความร้อนได้ โดยไม่ทำให้เกิดอันตราย หรือส่งผลต่ออาหาร

บรรจุภัณฑ์ Food Grade (ฟู้ดเกรด) คือ บรรจุภัณฑ์ที่ได้รับตรามาตรฐานรับรองว่า สามารถใช้ร่วมกับอาหารชนิดดังกล่าวได้ สามารถสังเกตที่ ก้นขวด หรือส่วนท้ายของบรรจุภัณฑ์ หากเป็นบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นพลาสติกขึ้นรูป หรือพลาสติกแข็ง มักจะแสดงอยู่ด้านล่างของภาชนะบรรจุภัณฑ์ แสดงเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์ สามารถสังเกตุดูจากตราสัญลักษณ์ ที่แสดงตามรูปภาพด้านบน ซึ่งมักจะอยู่ด้านล่างของภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์

ตราสัญลักษณ์ ที่แสดงถึง Food Grade

  1. PP : POLYPROPYLENE
  2. HDPE : High Density Polyethylene
  3. LDPE : Low density polyethylene
  4. PET : Polyethylene Terephthalate