เกร็ดความรู้

อุบัติเหตุจากการทำงานบนที่สูงเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส | GLOVETEX.COM

ใครที่ไม่อยากอ่านยาวๆ เรามาสรุปแบบสั้นๆให้อ่านกันตรงนี้เลย

สรุปข้อมูล "7 เทคนิคการทำงานบนที่สูงและนั่งร้านอย่างปลอดภัยได้มาตรฐาน"

1. อุปกรณ์ป้องกัน: สวมใส่เข็มขัดนิรภัย สายรั้งนิรภัย หมวกกันน็อค รองเท้ากันลื่น ฯลฯ

2. ตรวจสอบนั่งร้าน: ตรวจสอบสภาพนั่งร้านให้มั่นคง แข็งแรง ฐานรองรับもしっかり

3. แจ้งเตือนอันตราย: ติดตั้งป้ายเตือน ราวกั้น ตาข่ายนิรภัย จัดพื้นที่ทำงานให้ปลอดภัย

4. ฝึกอบรม: เข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูงและใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้อง

5. ตรวจสอบสภาพร่างกาย: พักผ่อนให้เพียงพอ สุขภาพดี ไร้โรคประจำตัว

6. ทำงานอย่างมีสติ: จดจ่อกับงาน ระวังสิ่งรอบตัว ไม่ประมาท

7. รายงานความเสี่ยง: แจ้งหัวหน้างานหรือผู้รับผิดชอบเมื่อพบเห็นความเสี่ยงหรืออันตราย

การทำงานบนที่สูงหรือทำงานพื้นที่ต่างระดับและการทำงานบนนั่งร้านที่ต้องเสี่ยงกับการตกจากที่สูง  เช่น  งานก่อสร้าง  งานบำรุงรักษา  งานสายส่งไฟฟ้า  งานทำความสะอาด  การช่วยเหลือกู้ภัย หรือแม้กระทั่งการทำงานในหลุม  บ่อ  เป็นต้น   งานที่ต้องเสี่ยงกับการตกจากที่สูงหรือพื้นที่ต่างระดับนี้  จำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องได้รับการฝึกฝน/ให้มีความรู้/ความเข้าใจและปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในขณะที่ปฏิบัติงานบนที่สูงและปฏิบัติให้ได้ตามมาตรฐาน

สิ่งที่ควรทำก่อนการทำงานทุกครั้ง

•  ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเกิดและการป้องกันอุบัติเหตุจากที่สูง

•  เข้าใจบทบาทหน้าที่ของผู้ทำงานบนที่สูงและบนนั่งร้าน

•  เข้าใจขั้นตอน และวิธีการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด

•  รู้จักการใช้ระบบป้องกันการตกจากที่สูง และใช้อุปกรณ์ขึ้นทำงานบนที่สูง

•  เข้าใจข้อกำหนดในการทำงาน เกี่ยวกับ "ใบอนุญาตทำงานบนที่สูงและนั่งร้าน"

•  มีความรู้ความเข้าใจ ในการประเมิน และวิเคราะห์ความเสี่ยง JSA

•  สามารถตรวจสอบเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง

•  เมื่อเกิดอุบัติเหตุขณะทำงานควรรู้จักวิธีการช่วยเหลือเป็นการเบื้องต้น

สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุตกจากที่สูงและนั่งร้าน

1. สาเหตุนำของการเกิดอุบัติเหตุ

1.1 ความผิดพลาดของการจัดการ

• ไม่มีการสอนวิธีการทำงานหรืออบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยบนที่สูงและนั่งร้าน

• ไม่มีการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน

• ไม่มีการวางแผนและประเมินงานด้านความปลอดภัยเอาไว้

• ไม่มีการแก้ไขจุดอันตรายต่าง ๆ

• ไม่มีการจัดหาอุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลให้

1.2 สภาวะทางด้านร่างกายและจิตใจของคนงานไม่เหมาะสม

ขาดความระมัดระวัง มีทัศนคติไม่ถูกต้อง ขาดความตั้งอกตั้งใจ อารมณ์อ่อนไหวง่าย และขี้โมโห เกิดความรู้สึกหวาดกลัว ขวัญอ่อน ตกใจง่าย อ่อนเพลีย หูหนวก สายตาไม่ดี มีร่างกายไม่เหมาะสมกับการทำงานที่สูงและบนนั่งร้าน เป็นโรคความดัน เบาหวาน หัวใจ ร่างกายมีความพิการ

2. สาเหตุโดยตรงของการเกิดอุบัติเหตุ

2.1 พื้นที่ทำงานหรือนั่งร้านไม่สมบูรณ์แข็งแรงพอให้ปฏิบัติงานบนที่สูง

2.2 พื้นที่ไม่มั่นคงเหมาะสม ยึดต่อกันไม่แน่นพอ

2.3 สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ให้ทำงานบนที่สูงและบนนั่งร้าน

2.4 ไม่ได้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการตกหรือไม่เกาะเกี่ยวจุดยึด

2.5 จุดยึดไม่แข็งแรงพอ(ควรตามมาตรฐาน OSHA 1926 , 5000lbs)

การป้องกันการตกจากที่สูง แบ่งการป้องกันเป็น 2 แบบ

1. การยับยั้งการตก (ไม่ออกไปนอกเขตพื้นที่ทำงาน)

หมายถึง การจำกัด ตำแหน่งของผู้ปฏิบัติงานบนที่สูง หรือจำกัดการเคลื่อนที่  เพื่อไม่ให้เข้าไปอยู่หรือยืนตรงจุดเสี่ยงจะเกิดการตก เช่นขอบหลังคา ขอบดาดฟ้า เสา บันได นั่งร้านฯลฯ อีกลักษณะหนึ่งเป็นการสร้างเครื่องกั้น เช่นราวป้องกันการตก  เพื่อกั้นหรือป้องกันไม่ให้คนงานเข้าไปอยู่ในจุดที่จะเกิดการตก

2. การยึดตัวไม่ให้ตกกระแทก (ยึดไม่ให้ตกกระแทกพื้นหรือโครงสร้างต่าง ๆ)

หมายถึง การยึดหรือจับตัวคนทำงานไว้ ไม่ให้ตกกระแทกพื้นด้านล่าง เมื่อคนงานเข้าไปอยู่ ณ. จุดเสี่ยงต่อการตก เช่น ขอบหลังคา ขอบดาดฟ้า บันได นั่งร้าน โครงสร้าง เสาสัญญาณ ฯลฯ แล้วพลัดตกลงไป อุปกรณ์ป้องกันที่สวมใส่ไว้กับตัว โดยการใช้เข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัวและสายนิรภัยช่วยชีวิตชนิดตะขอคู่ หรือ Rocker Lanyardจะช่วยยึดตัวเขาไว้ก่อนจะกระแทกกับพื้นด้านล่างหรือโครงสร้าง ตัวคนงานจะห้อยอยู่กลางอากาศอย่างปลอดภัย ก่อนจะได้รับการช่วยเหลือในลำดับต่อไป หรือการติดตั้งตาข่ายนิรภัยรองรับป้องกัน ก่อนที่ตัวคนทำงานจะตกถึงพื้นด้านล่าง

“ให้รู้จักอันตราย” อันตราย 5 ตัว ที่อาจจะเกิดในงานบนที่สูง

•  อันตราย ตัวที่ 1 ตกจากที่สูง

•  อันตราย ตัวที่ 2 ตกจากบันได

•  อันตราย ตัวที่ 3 สะดุด/ลื่นล้ม

•  อันตราย ตัวที่ 4 วัสดุตกกระทบ

•  อันตราย ตัวที่ 5 อันตรายอื่น ๆ เช่น ไม่มีความรู้/สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน/ไม่สวมอุปกรณ์ส่วนบุคคล/ถูกไฟฟ้าช็อต

อันตรายทั้งหมดเป็นสาเหตุทำให้เกิดการตาย

การช่วยเหลือในกรณีเกิดอุบัติเหตุจากการตกจากที่สูง
และแขวนลอยอยู่บนที่สูง นั่งร้านหรือโครงสร้างเมื่อประสบเหตุถูกแขวนลอยบนที่สูง

•  ตั้งสติ......!!!!!!!!!

•  อย่าปลดอุปกรณ์ที่แขวนตัว

•  ตะโกนขอความช่วยเหลือ

•  ขยับขา (ปั่นจักรยาน)

•  หาโครงสร้างใกล้เคียงดึงตัวเองเข้า

•  ผู้ช่วยเหลือจะต้องรู้จักท่ายกและเคลื่อนย้าย

ผู้เข้าทำการช่วยเหลือ ทีมกู้ภัยจำเป็นต้องมีความรู้และอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับงาน ถ้าเป็นไปได้ควรทำการช่วยเหลือจากระยะไกล การช่วยเหลือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการทำงานบนที่สูงและจะต้องมีอุปกรณ์กู้ภัยและบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม การเข้าถึง เคลื่อนย้ายคนเจ็บขึ้นอยู่กับพื้นที่และเหตุการณ์ที่ต่างกันออกไป หรือ กรณีผู้ประสบภัยยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทีมกู้ภัยจะส่งชุดรอกกู้ภัยลงไปให้ผู้ประสบภัยเกาะเกี่ยวกับตัวแล้วทำการช่วยเหลือ เพื่อนำผู้ประสบภัยลงมาและดำเนินการต่อไป

สอบถามข้อมูลตัวแทนฝ่ายขายเพิ่มเติม หรือขอใบเสนอราคา
ได้ที่ Call Center : 034-878762 ต่อ 3
หรือสามารคติดตามเราได้ที่ : คลิกที่นี่
สายด่วน 083 989 7512 (ฝ่ายขายทางโทรศัพท์)

เอกสารอ้างอิง

•  BS 8454 Code of practice for the delivery of training and education for work at height and rescue

•  ASTM INTERNATIONAL: F2752, F2954, F2955 – Standard Guide for Training for Level I Rope Rescue (RI) /Level II Rope Rescue (RII) / Level III Rope Rescue (RIII) Rescuer Endorsement

•  ISO/IEC 17024 Conformity assessment – General requirements for bodies operating certification of persons

•  ISO/IEC 17020 Conformity assessment – Requirements for the operation of various types of bodies performing inspection

•  *NFPA 1670 Standard on Operations and Training for Technical Search and Rescue Incidents – addresses the team requirements / organization technical rescue standard -- Team rescue capabilities.

•  *NFPA 1006 Standard for Technical Rescue Personnel Professional Qualifications -- specifies the minimum job/work performance requirements for a rescue technician – Individual standard.

Related Posts