เกร็ดความรู้

EN388 มาตรฐานเครื่องหมาย ถุงมือกันบาด ที่ต้องรู้

EN 388:2003 มาตรฐานสำหรับควบคุมถุงมือป้องกันความเสี่ยงจากการใช้งานเครื่องจักรกล มาตรฐานนี้มีผลควบคุมต่อถุงมือทุกประเภท ที่ถูกสร้างมาเพื่อป้องกันแรงกระแทก แรงขัด การฉีกขาด รวมถึงการเจาะทะลุ ซึ่งเกิดจากการใช้งานในสภาพหนัก หรือที่ใช้กันในโรงงานอุตสาหกรรม
หากท่านเป็นหนึ่งคนที่เคยใช้หรือ ใช้ถุงมือในการทำงาน ไม่ว่าจะในโรงงานอุตสาหกรรม หรืองานอดิเรก งานไม้ DIY จะสังเกตุเห็นว่า มีตัวเลข 4 ตัว อยู่ด้านล่างเครื่องหมาย EN388 ตัวเลขเหล่านั้นคือ ผลการทดสอบของถุงมือชนิดนั้นๆ ว่ามีความสามารถทนทานต่อการทดสอบประเภทต่างๆมากน้อยเพียงใด นั่นเอง

EN 388:2003 มาตรฐานสำหรับควบคุมถุงมือป้องกันความเสี่ยงจากการใช้งานเครื่องจักรกล มาตรฐานนี้มีผลควบคุมต่อถุงมือทุกประเภท ที่ถูกสร้างมาเพื่อป้องกันแรงกระแทก แรงขัด การฉีกขาด รวมถึงการเจาะทะลุ ซึ่งเกิดจากการใช้งานในสภาพหนัก หรือที่ใช้กันในโรงงานอุตสาหกรรม
ถุงมือที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพตามมารตฐาน EN388 ซึ่งจะแสดงออกผ่านทางแผนภูมิรูปภาพที่มีรหัสตัวเลข 4 ตัวกำกับ โดยตัวเลขแต่ละตัวจะบ่งบอกถึงบททดสอบแต่ละการทดสอบ ที่ถุงมือทดสอบได้ผ่าน

ตัวเลขที่ 1) การทนทานต่อแรงขัดสี : ทดสอบโดยการวัดจำนวนรอบที่ถุงมือสามารถทนการขัดสีจนกว่าจะขาด
ตัวเลขที่ 2) การทนทานการบาดจากของมีคม : ทดสอบโดยการวัดจำนวนรอบที่ต้องใช้ในการตัดเฉือนถุงมือบนความเร็วที่สม่ำเสมอ
ตัวเลขที่ 3) การทนทานต่อการฉีกขาด : ทดสอบโดยการวัดขนาดของแรงดึงที่จำเป็นในการฉีกตัวอย่างถุงมือ
ตัวเลขที่ 4) การทนทานต่อการเจาะทะลุ : ทดสอบโดยการวัดความแรงที่จำเป็นในการเจาะทะลุถุงมือโดยใช้เครื่องมือมาตรฐานในการทดสอบ
โดยแต่ละบททดสอบภายใต้มาตรฐานดังกล่าวมีการแบ่งระดับประสิทธิภาพออกทั้งหมด 5 ระดับ โดยมีมีระดับ 0 เป็นระดับต่ำสุด จนถึงระดับ 5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด

รูป.ระดับประสิทธิภาพต้องมีการบ่งบอกอย่างชัดเจนบนแผนภูมิรูปภาพที่กำหนดไว้บนตัวถุงมือ

มาตรฐานการกันบาดใหม่ ANSI และ EN388: 2016
ในปี 2016 นี้มีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานของถุงมือที่ใช้ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ทั้งมาตรฐาน ANSI / ISEA 105 ของอเมริกาและ EN388 ของยุโรป ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดที่สุด ก็จะเป็นเรื่องมาตรฐานการทดสอบการป้องกันการบาดคม ซึ่งมีการกำหนดระดับ และรูปแบบการทดสอบใหม่ การเปลี่ยนแปลง EN388 นี้ จะมุ่งเน้นเพื่อแก้ปัญหาความไม่คงที่ของการทดสอบการบาดคมแบบ Coup Test โดยวัสดุป้องกันการบาดจะต้องใช้การทดสอบตามมาตรฐาน ISO 13997 ด้วย ซึ่งจะทดสอบผ่านเครื่อง TDM โดยผลจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักที่ใช้ตัดผ่านที่ระยะ 20mm (เหมือนมาตรฐาน ANSI / ISEA 105) รายงานเป็นหน่วยนิวตันและให้คะแนนเป็นตัวอักษร 6 ระดับ (A-F)

จากตัวเลขการทดสอบ สังเกตได้ว่าระดับการป้องกันการบาดคม 6 ระดับของมาตรฐาน EN388 ใหม่นี้ มีค่าสอดคล้องกับ ANSI / ASEA ระดับ A1-A6 แต่ยังคงไม่กว้างไปถึงระดับ 9 เหมือน ANSI ดังนั้นหากต้องการจะทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์เชิงลึก การอ้างอิงจากมาตรฐาน ANSI น่าจะเห็นชัดเจนกว่า
EN388 : 2016 เป็นมาตรฐานแบบใหม่ โดยจะเพิ่มรหัสมาตรฐานจาก 4 หลัก (EN388 abcd) กลายเป็น 6 หลัก (EN388 abcdef) ซึ่งประกอบด้วยมาตรฐานการทดสอบความทนทาน 4 ประเภทเดิม ได้แก่
  1. การทนต่อการเสียด
  2. การทนต่อการบาดเฉือน Coup Test
  3. การทนต่อการฉีดขาด
  4. การทนต่อการเจาะทะลุ
และได้เพิ่มการทดสอบความทนทานมาอีก 2 ประเภท ได้แก่
  1. การทนต่อการบาดเฉือน TDM Test (ทดสอบตามมาตรฐาน IOS 13997) ใช้ตัวสัญลักษณ์ตัวอักษร A – F แทนค่าความทนทานเรียงตามอักษรจากน้อยไปมาก
  2. การทนต่อแรงกระแทก ซึ่งจะใช้สัญลักษณ์ P แทน ได้ผ่านการทดสอบ และ F หรือ X แทน ไม่ผ่านการทดสอบหรือไม่รองรับการใช้งาน

สรุปมาตรฐาน EN 388 แบบใหม่และแบบเก่า
โดยรวมมาตรฐาน EN 388 เป็นมาตรฐานที่ช่วยให้ผู้ใช้และผู้จัดการด้านความปลอดภัยกำหนดระดับการป้องกันของถุงมือป้องกันให้การป้องกันความเสี่ยงเชิงกลต่างๆ และใช้ค่าดัชนีเพื่อประเมินประสิทธิภาพของถุงมือ ค่าเหล่าได้มีความแม่นยำ ต่อความปลอดภัยมากขึ้น ดังนี้:

มาตรฐานเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ไม่มีการป้องกันการบาดและการป้องกันแรงกระแทก

เนื่องจากถุงมือมีหลากหลายประเภทซึ่งแบ่งประเภทตามการใช้งาน ทั้งงานเคมี งานไฟฟ้า กันบาดกันทะลุ  ฯลฯ ทำให้การเลือกใช้ถุงมือสำหรับงานอุตสาหกรรมจึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก กว่าถุงมือที่ตอบโจทย์การใช้งาน ทำงานสะดวก และพร้อมด้วยความปลอดภัย เราจึงควรศึกษา และอ่านค่ามาตรฐานที่ติดบนสินค้า เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ให้เหมาะกับการใช้งานนั้นเอง

.

ขอบคุณข้อมูลจาก :
nipponsafety
thai-safetywiki

Related Posts