เกร็ดความรู้

ถุงมือ Safety มีกี่ประเภท เลือกให้ดี เหมาะกับงาน ก่อนใช้จริง

ถ้าพูดถึงเรื่องความปลอดภัยส่วนบุคคล ( PPE : Personal protective equipment ) ในการทำงานเขาเรานั้น
ส่วนที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างที่ไม่พูดไม่ได้เลย นั้นก็คือ “ถุงมือ” หรืออุปกรณ์ป้องกันการบาดเจ็บที่มือ (Hand Protection) ที่มีความจำเป็นมากๆ
ฉะนั้นการเลือกถุงมือที่เป็นอุปกรณ์ป้องกัน จะต้องเลือกให้เหมาะกับงาน และประเภทถุงมือก็ต้องเหมาะสมตามความเสี่ยงของลักษณะงานอีกด้วย วันนี้ Glovetex จะพาไปดูว่าถุงมือป้องกันส่วนบุคคลแบ่งไว้กี่ประเภทกันครับ

ก่อนจะไปรู้จักกับประเภทถุงมือเซฟตี้ จริงๆ แล้วมีกี่ชนิดนั้น สิ่งที่เป็นเรื่องที่ต้องรู้อีกเรื่องหนึ่งเลยคือ ข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับถุงมือป้องกัน ที่จะทำให้เราตัดสินใจว่าถุงมือที่เรากำลังเลือกซื้อมาใช้นั้น มีการผลิตที่ได้มาตรฐาน และสามารถปกป้องมือของเราได้จริง ๆ มีดังนี้

มาตรฐาน : ข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับถุงมือป้องกัน จะมีมาตรฐานควบคุมโดย DIN EN 420 โดยมาตรฐานนี้จะกำหนดคุณลักษณะของถุงมือป้องกันต่างๆ ดังนี้ :
  • วิธีการทดสอบที่เกี่ยวข้องที่จะใช้
  • ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับกฎการออกแบบ
  • การผลิตถุงมือ
  • ความต้านทานของวัสดุถุงมือต่อการซึมผ่านของน้ำ
  • คุณภาพในการป้องกันอันตราย และความสะดวกสบายและลักษณะการทำงาน
  • การทำเครื่องหมายและข้อมูลที่จัดหาให้ (โดยผู้ผลิต)
โดยมาตรฐานของ DIN EN 420 จะมีการแบ่งออกเป็นมาตรฐานของสินค้าในแต่ละชนิดของสินค้า ดังต่อไปนี้
EN 388 การป้องกันความเสี่ยงทางกล
EN 407 การป้องกันความร้อน
EN 511 การป้องกันความเย็น
EN 374 การป้องกันสารเคมีและจุลินทรีย์
EN 12477 การป้องกันความร้อนและความเสี่ยงทางกลระหว่างการเชื่อม
EN 16350 การป้องกันความเสี่ยงทางกล
EN 60903 ถุงมือป้องกันฉนวนสำหรับการทำงานกับระบบไฟฟ้า
EN ISO 10819 การป้องกันการสั่นสะเทือนและผลกระทบทางกล

1. ถุงมือสำหรับงานทั่วไป
ถุงมือสำหรับงานทั่วไป เป็นถุงมือที่ใช้สวมใส่ทำงานเบาและงานอเนกประสงค์ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกต่างๆ สัมผัสกับมือได้โดยตรง และช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานได้เป็นอย่างดี โดยถุงมือสำหรับงานทั่วไปมีให้เลือกใช้งานอยู่หลากหลายชนิด เช่น ถุงมือผ้า ถุงมือถัก หรือถุงมือกลุ่มเกษตรต่างๆ เป็นต้น ซึ่งถุงมือแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการใช้งานและมีประสิทธิภาพในการป้องกันมือได้ดีแตกต่างกันไป ดังนั้นควรเลือกชนิดถุงมือสำหรับงานทั่วไปให้เหมาะกับจุดประสงค์การใช้งาน ดูข้อมูลถุงมือสำหรับงานทั่วไป
การใช้งานที่เหมาะสม : งานทำความสะอาด งานซักล้างทั่วไปในครัวเรือน หรืองานเกษตร เป็นต้น
ข้อควรระวัง : ถุงมือสำหรับงานทั่วไปส่วนใหญ่ จะไม่สามารถป้องกันสารเคมี ความร้อน สะเก็ดไฟ หรือของมีคมได้

2. ถุงมือกันบาด
ถุงมือกันบาด เป็นถุงมือเพื่อป้องกันอันตรายจากการบาดเฉือน การตัด การเจาะทะลุ หรือการขีดข่วนได้ เป็นถุงมือเซฟตี้อีกรูปแบบหนึ่งที่ได้พัฒนาเพื่อรองรับผู้ปฏิบัติงานที่มีการสัมผัสกับของมีคม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงอันตรายต่อมือและนิ้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานต่อได้อย่างราบรื่นและปลอดภัย ถุงมือกันบาดนิยมสวมใส่ตั้งแต่ในงานทั่วไปจนถึงระดับงานอุตสาหกรรม และทั้งนี้ถุงมือกันบาดยังมีให้เลือกอีกหลายแบบ รวมถึงคุณสมบัติพิเศษอื่นเพิ่มเติมอีก เช่น ถุงมือเสริมใยสแตนเลส ถุงมือเสริมวัสดุเพิ่มความแข็งแรงกันทิ่มทะลุ ถุงมือกันบาดเสริมกันกระแทก ถุงมือกันบาดระดับ 5 ถุงมือกันบาดเคลือบยางกันลื่น ฯลฯ ดูข้อมูลถุงมือสำหรับกันบาด
การใช้งานที่เหมาะสม : งานที่เกี่ยวข้องกับของมีคม เช่น งานตัดที่ใช้มีดคัตเตอร์ กรรไกร หรืองานเคลื่อนย้ายกระจก แผ่นเหล็ก และแผ่นกระเบื้อง เป็นต้น
ข้อควรระวัง : ไม่ควรใช้ในงานที่มีโอกาสปนเปื้อนกับน้ำมัน

3. ถุงมือหนัง
ถุงมือหนังหรือถุงมือช่างเชื่อม เป็นถุงมือที่ผลิตจากหนังสัตว์แท้หรือหนังฟอกฝาด ซึ่งมีความเหนียว แข็งแรงทนทาน ทนความร้อน สวมใส่สบาย สามารถป้องกันสะเก็ดไฟและประกายไฟได้ดี และในบางรุ่นเสริมซับในเพื่อให้มีความต้านทานต่อแรงฉีกขาดและการบาดเฉือนได้อีกด้วย ดูข้อมูลถุงมือหนัง
การใช้งานที่เหมาะสม : ใช้ในงานเชื่อมต่างๆ งานก่อสร้าง งานที่ก่อให้เกิดประกายไฟ งานสัมผัสความร้อน และงานอุตสาหกรรมทั่วไป
ข้อควรระวัง : ไม่ควรนำถุงมือหนังไปซักโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้หนังเสื่อมคุณภาพเร็วยิ่งขึ้น ความสามารถในการป้องกันการกระแทก หรือการหนีบ ค่อนข้างต่ำ และเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วเมื่อตากแดด

4. ถุงมือป้องกันสารเคมี
ถุงมือป้องกันสารเคมีผลิตจาก ยางธรรมชาติ หรือ ยางสังเคราะห์ต่าง ๆ จะมีความสามารถในการป้องกันสารเคมีได้ในระดับ 1 แต่ส่วนใหญ่ที่นิยมผลิตจากยางไนไตรมากกว่า เพราะจะมีความเหนียว ทนทาน และที่สำคัญ ป้องกันการแพ้ได้ เพราะว่าไม่มีส่วนประกอบที่เป็นโปรตีนจากยางธรรมชาติ นอกจากนี้ ถุงมือไนไตร ยังทนทานต่อ สารเคมี กรด ด่าง หรือน้ำมันต่าง ๆ ได้ดี ไม่แพ้ยางธรรมชาติ อย่างไรก็ตามถุงมือที่สามารถป้องกันสารเคมีได้ ก็จะมีระดับการกันของสารเคมีแต่ละชนิดไม่เท่ากัน โดยอาจจะทนทานต่อสารเคมีได้ดีมาก หรือ ทนทานได้พอสมควร หรือแม้ทนทานได้น้อย ผู้ใช้งานควรเลือกให้เหมาะและถูกต้องกับหน้างานที่ต้องใช้ ดูข้อมูลถุงมือกันสารเคมี
การใช้งานที่เหมาะสม : เหมาะกับงานอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท และเป็นที่นิยมนำไปใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นงานการแพทย์ โรงงานผลิตอาหาร อุตสาหกรรมยานยนต์ งานพ่นสี งานซ่อมบำรุง งานอิเล็กทรอนิกส์ งานระบบไฟฟ้า ฯลฯ
ข้อควรระวัง : ไม่ควรนำไปใช้กับงานที่ต้องสัมผัสกับสารละลายที่มีคลอรีนผสมอยู่ และไม่ควรวางในที่ที่มีแสงแดด หรือโอโซน ส่องถึงตลอดเวลาจะทำให้ถุงมือชนิดนี้เสื่อมสภาพได้ และหลีกเลี่ยงการทำงานกับวัตถุที่มีความแหลมคม

5.
ถุงมือถักผ้า
ถุงมือถัก เป็นถุงมือที่ใช้สวมใส่เพื่อในการลดการเสียดทานระหว่างผิวของเรา ซึ่งจะเป็นถุงมือทักผ้าชนิดทั่วไป และมีบางรุ่นที่ต้องนำไปใช้ตรวจสอบควบคุมคุณภาพสินค้า ซึ่งจะต้องใช้ถุงมือรุ่นที่มีการใช้เส้นดายพิเศษ เพื่อไม่ทิ้งรอยขนไว้กับงาน โดยทั่วไปแล้วถุงมือถักชนิดนี้จะเป็นถุงมือผ้า มีความยืดหยุ่น สวมใส่สบายมือ ซึ่งผลิตได้ทั้งจากผ้าคอตตอนหรือผ้าไนลอน มีคุณสมบัติป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ ทนทานต่อน้ำมัน ไม่ทิ้งไรขนจากถุงมือ พร้อมยังมีรุ่นที่เคลือบสาร PU หรือ PVC เพื่อเพิ่มความกระชับมือและกันลื่นได้เป็นอย่างดี ดูข้อมูลถุงมือถักผ้า
การใช้งานที่เหมาะสม : งานซ่อมบำรุงทั่วไปที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น การยก/เคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนักเบา งานทำความสะอาดทั่วไป หรือในรุ่นที่มีการถักที่ละเอียดมากขึ้นต้องการคุณภาพสูง ไม่ทิ้งลอยขนจากถุงมือ เช่น งานประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก เป็นต้น
ข้อควรระวัง : ไม่ควรใช้ในงานที่มีโอกาสสัมผัสสารเคมีหรือเปื้อนน้ำมันโดยตรงหากไม่ใช่รุ่นที่มีการเคลือบด้วย PU หรือ PVCหลีกเลี่ยงการทำงานกับวัตถุที่มีความแหลมคม

6. ถุงมือชนิดใช้แล้วทิ้ง
ถุงมือแบบใช้แล้วทิ้งส่วนใหญ่เป็นถุงมือยางหรือถุงมือพลาสติกที่มีลักษณะเป็นถุงมือเนื้อบาง เหนียว ทนทาน สามารถผลิตได้จากทั้งยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เช่น ความยืดหยุ่นสูง ทนต่อแรงดึง ความต้านทานต่อสารเคมี น้ำมัน กรด ด่าง เป็นต้น ทำให้ถุงมือแบบใช้แล้วทิ้งเป็นที่ และเนื่องจากในปัจจุบันมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด 19 (COVID-19) ทำให้ถุงมือแบบใช้แล้วทิ้งยิ่งเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นอีกตัวช่วยลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับเชื้อโรคในชีวิตประจำวันได้อย่างดีเยี่ยม ดูข้อมูลถุงมือชนิดใช้แล้วทิ้ง
การใช้งานที่เหมาะสม : นิยมนำไปใช้ในการทำงานและกิจกรรมได้อย่างหลากหลายทั้งทางด้านครัวเรือน ทางเชิงพาณิชย์ ทางการแพทย์ และโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ
ข้อควรระวัง : หลีกเลี่ยงการทำงานกับวัตถุที่มีความแหลมคม ไม่แนะนำให้ใช้นงานทั่วไป

7. ถุงมือป้องกันไฟฟ้า
ถุงมือที่ผลิตมาเพื่อกันกระแสไฟฟ้าโดยเฉพาะส่วนมากผลิตจากจากยางสังเคราะห์ จำพวก Ethylene Propylene Diene Monomer หรือ EPDM ซึ่งถุงมือยางทั่วไปไม่สามารถนำมาใช้กับไฟฟ้าได้ เนื่องจากมีขั้นตอนการผลิตที่ต่างกันทำให้มีคุณสมบัติในการป้องกันที่ต่างกัน จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเลือกใช้ถุงมือกันไฟฟ้าโดยเฉพาะในการป้องกัน ซึ่งถุงมือชนิดนี้ สามารถแบ่งออกได้ 5 ระดับ ตาม Voltage หรือ แรงดันไฟฟ้า ที่จะใช้งาน เช่น class 00 สามารถป้องกันไฟฟ้าได้ 500 V. โดยคุณสมบัติหลัก ๆ แล้ว จะต้องสามารถป้องกันไฟ้ฟ้าได้ มีความแข็งแรง ยืดหยุ่นสูง และราคาของถุงมือ ขึ้นอยู่กับการทนทานต่อกระแสไฟฟ้า ดูข้อมูลถุงมือป้องกันไฟฟ้า
การใช้งานที่เหมาะสม : ถุงมือชนิดนี้เหมาะกับงานที่ต้องสัมผัสกับงานที่มีกระแสไฟฟ้าต่ำ ไปจนถึงแรงสูงไหลผ่าน
ข้อควรระวัง : ก่อนการใช้งาน ควรตรวจสอบถุงมือให้ดีก่อนใช้ทุกครั้งว่า มีรอยขาด รูรั่ว โดยการสังเกตุด้วยตาเปล่า หรือ ใช้วิธีการเพิ่มลมเข้าไปในถุงมือ แค่พอให้ถุงมือพองตัว แล้วค่อย ๆ บีบลมออก พร้อมกับฟังเสียงลมที่รั่วออกมาก บางครั้ง หากเก็บไว้นานจนเกินไป ถุงมืออาจจะเสื่อมสภาพ เนื่องจากความร้อน และ ช่วงอายุของถุงมือ

สอบถาม หรือขอใบเสนอราคา
https://www.facebook.com/Glovetex.Safety
Tel. 083-989-7512 (เพื่อสอบถาม หรือขอใบเสนอราคา)
Line : @microtex หรือคลิก https://lin.ee/wgXULga

Related Posts