เกร็ดความรู้

ทำความรู้จักชุดตรวจ “ANTIGENT TEST KIT” รู้ไว้ ตรวจได้ด้วยตนเอง

ในปัจจุบันการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น การตรวจแบบ Rapid Antigen Test ที่เน้นความสะดวกรวดเร็ว ซึ่งเราหาซื้อได้เองตามร้านขายยาแผนปัจจุบันในราคาหลักร้อย รู้ผลภายใน 15-30 นาที และอีกวิธีคือการตรวจแบบ RT-PCR ที่ให้ผลได้แม่นยำกว่า แต่ก็ต้องรอผลตรวจนานกว่า โดยการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือมีอาการที่บ่งชี้ถึงการติดเชื้อโควิด-19 นั้นเอง

Antigen Test Kit” (ATK) คืออะไร

Rapid Antigen Test คือ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 อย่างง่ายๆ ก่อนเข้ากระบวนการตรวจชนิดยืนยันจากห้องปฏิบัติการ ด้วยการเก็บตัวอย่างเชื้อจากทางจมูก หรือน้ำลาย วิธีนี้จะรู้ผลเร็วใน 15-30 นาที เหมาะสำหรับผู้สัมผัสโรคระดับความเสี่ยงสูงที่มีอาการ เพื่อคัดแยกตนเองออกจากผู้อื่นและติดต่อขอเข้ารับการรักษาหากมีการสัมผัสโรคระดับความเสี่ยงสูงแต่ไม่มีอาการ อาจใช้การทดสอบนี้ตรวจเบื้องต้นแต่อาจให้ผลประมาณ 90% เพราะการตรวจจะต้องได้รับเชื้อมาแล้ว 5-14 วัน ไม่อย่างนั้นอาจตรวจไม่พบเชื้อได้
สำหรับชุดตรวจแบบเร็ว จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ
1. Rapid Antigen Test เป็นการตรวจหาเชื้อไวรัส โดยจะเก็บตัวอย่างจากโพลงจมูก
2. Rapid Antibody Test เป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกัน เก็บตัวอย่างจากการเจาะเลือด

ควรรู้ก่อนตรวจ “Antigen Test Kit”

โดยชุดตรวจ Rapid Test ที่กระทรวงสาธารณสุขอนุมัติให้ประชาชนใช้ตรวจหาเชื้อด้วยตนเอง จะเป็นชุดตรวจแบบ “Rapid Antigen Test” ชุดตรวจนี้ใช้ได้แค่ครั้งเดียว ต่อหนึ่งคนเท่านั้น! ชุดตรวจที่ใช้ต้องผ่านการประเมินและขึ้นทะเบียนกับ อย. ควรซื้อจากสถานพยาบาลหรือร้านขายยาที่มีเภสัชกรเพื่อรับคำแนะนำการใช้งานที่ถูกต้อง ซึ่งปัจจุบันมีขึ้นทะเบียนกับ อย.แล้ว 45 ยี่ห้อ(ข้อมูล ณ วันที่ 26 ส.ค.64) โดยเป็นการอนุญาตให้ใช้ในลักษณะ Home Use หรือสามารถใช้ตรวจได้ด้วยตนเอง
ซึ่งสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่นี้ https://www.fda.moph.go.th/sites/Medical/SitePages/test_kit_covid19.aspx

วิธีใช้ชุดตรวจ “
Antigen Test Kit”
ทำความสะอาดพื้นผิวที่จะวางชุดตรวจให้ดี ด้วยใช้แอลกอฮอลล์ฆ่าเชื้อ ล้างมือให้สะอาดหรือใส่ถุงมือ เพื่อรักษาความสะอาดของมือที่จะหยิบจับอุปกรณ์

วิธีเก็บตัวอย่าง

ให้ทำตามคำแนะนำที่มากับชุดตรวจอย่างเคร่งครัด โดยแต่ละชุดตรวจจะมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป เมื่อเก็บตัวอย่างเสร็จแล้ว และเตรียมอุปกรณ์ตามคู่มือการใช้งานแล้ว ให้นำก้านสำลีมาหมุนใส่หลอดที่มีสารละลายตรวจเชื้อ หมุนวนอย่างน้อย 5 ครั้ง หรือ 15 วินาที แล้วบีบสำลีให้แห้งผ่านหลอด ห้ามใช้มือสัมผัสกับก้านสำลีหรือสารที่เก็บเชื้อมา จากนั้นนำก้านสำลีทิ้งใส่ถุงซีล และหยดสารละลายลงในแท่นตรวจตามจำนวนหยดที่ชุดตรวจกำหนดไว้ รอผล 15-30 นาที ตามเอกสารกำกับชุดตรวจ

วิธีอ่านค่าผลตรวจ

หลังจากรอผล 15-30นาที ตามเอกสารกำกับชุดตรวจ ให้อ่านค่าจากผลตรวจ โดยตัวอักษร C หมายถึงแถบควบคุม และตัวอักษร T หมายถึง ทดสอบ โดยมีวิธีการอ่านผลตรวจ ดังนี้
หากมี 1 ขีดตรงตัวอักษร C แปลว่าผลตรวจเป็นลบ หรือ “ไม่ติดเชื้อ”
หากมี 2 ขีดตรงตัวอักษร C และ T แปลว่า ผลตรวจเป็นบวก หรือ “ติดเชื้อ”
หากไม่มีขีดที่ตัว C เช่น ปรากฎแค่ตรง T หรือไม่มีขีดเลย แปลว่าผลตรวจใช้ไม่ได้ ควรตรวจหาเชื้อใหม่อีกครั้ง โดยทำตามคำแนะนำตามเอกสารกำกับชุดตรวจอย่างเคร่งครัด

วิธีปฏิบัติตนหลังทราบผล


กรณี ผลบวก
ติดต่อหน่วยบริการใกล้บ้าน เช่น คลินิกชุมชนอบอุ่น โรงพยาบาลใกล้บ้านหรือสำนักอนามัยเขตพื้นที่ เพื่อขอรับคำแนะนำเข้าสู่ระบบการรักษาแยกกักตนเอง แจ้งผู้ใกล้ชิดเพื่อประเมินความเสี่ยงและตรวจหาเชื้อต่อไป
กรณี ผลลบ
หากมีความเสี่ยงสูง ควรตรวจซ้ำอีกครั้งใน 5-8 วัน หรือเมื่อมีอาการ การตรวจเพียงครั้งเดียวยังไม่สามารถสรุปได้ว่าไม่มีการติดเชื้อจริง ดังนั้นควรแยกตนเองออกจากผู้อื่นไว้ก่อนระหว่างรอตรวจช้ำ
ข้อมุลอ้างอิง
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา www.doh.hpc.go.th

Related Posts