ทำความรู้จัก มาตรฐาน EN 14126 ในชุด PPE
![](https://glovetex.com/wp-content/uploads/2021/08/gt600.jpg)
EN 14126 ในชุด PPE เป็นมาตรฐานสำหรับการทดสอบเนื้อผ้าของ ชุด Personal Protective Equipment (PPE) ที่บ่งบอกว่ามีความสามารถป้องกันเชื้อโรคได้ ในสภาวะแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูง แต่ก็ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ในการดูเพิ่มเติมอีกด้วย
วันนี้ Glovetex จะมาแนะนำวิธีการอ่านมาตรฐาน และการเลือกใช้กันครับ
ในช่วงนี้มีผู้เป็นห่วงบุคลากรทางการแพทย์เป็นจำนวนมาก ต่างแสดงน้ำใจร่วมด้วยช่วยกันซื้อชุด PPE และหน้ากากนามัย N95 มาบริจาคจำนวนมาก แต่แพทย์พยาบาลไม่กล้าใช้ เนื่องจากกังวลเรื่องประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโควิด-19 ที่อาจไม่ได้มาตรฐาน วันนี้กลัฟเท็กซ์ จะพาทุกท่านมาสังเกตชุด PPE ที่ได้มาตรฐาน EN 14126 ต้องดูตรงไหน เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้อุปกรณ์ป้องกันที่ปลอดภัยกันครับ
ชุด PPE ที่ใช้ทางการแพทย์จะถูกแบ่งเป็น 3 ระดับ ซึ่งจะแบ่งแยกการปกป้องในสภาวะแวดล้อมที่มีความหนแน่นของสิ่งปนเปื้อนในอากาศมากน้อยต่างกัน โดยเรียงจากระดับ 1 – 3 (ความเสี่ยงมากสุด – น้อยสุด) ได้แก่
(ตารางแสดงมาตรฐาน ชุด PPE ที่เทียบเท่ากัน ที่สามารถใช้ในโรงพยาบาล)
-
ระดับ 1 ใช้ในห้อง ICU ห้องควบคุมความดัน ที่มีคนไข้วิกฤตต้องใช้ท่อช่วยหายใจ จะใช้รุ่นที่มีมาตรฐาน Type 6 (ป้องกันการกระเด็นของเหลวได้ เช่น เลือดที่ป่นเปื้อนไวรัส)
-
ระดับ 2 ใช้ในพื้นที่ ที่มีผู้ติดเชื้อแล้ว เช่น หมอใช้ตรวจคนไข้ที่เป็น COVID-19 ในโรงพยาบาล จะเป็นรุ่นที่มีมาตรฐาน EN14126 (ผ่านการทดสอบป้องกันสารทางชีวภาพ/สารติดเชื้อ)
-
ระดับ 3 ใช้พื้นที่เสี่ยง 50-50% เช่น เข้าตรวจพื้นที่ที่มีผู้ต้องสงสัย หรือเฝ้าระวังการติดเชื้อ ตามชุมชนต่างๆในรถกู้ภัย
World Health Organization (WHO) ได้แนะนำคุณภาพของชุด coverall ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Personal Protective Equipment (PPE) จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบล่า เมื่อปี 2014 โดยมีมาตรการในการทดสอบเรียกว่า “EN 14126” ซึ่งมีมาตรฐานย่อยอีก 5 มาตรฐาน ประกอบด้วย
มาตรฐาน ISO 16603: การตรวจสอบความต้านทานแรงดันของเลือดเทียม
มาตรฐาน ISO 16604: การตรวจสอบความต้านทานแรงดันของเลือดเทียมที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
มาตรฐาน ISO 22610: การตรวจสอบความต้านทานของเหลวที่ปนเปื้อนแบคทีเรีย
มาตรฐาน ISO 22611: การตรวจสอบการป้องกันละอองของของเหลวที่ปนเปื้อนแบคทีเรียในอากาศ
มาตรฐาน ISO 22612: การตรวจสอบความต้านทานอนุภาคปนเปื้อน
ส่วนการจะเลือกชุด PPE Type ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับหน้างานและความหนาแน่นของเชื้อโรคในสถานที่ โดยหากทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอจามมากหรือทำงานในห้องไอซียู แนะนำให้ใช้ ชุด PPE Type 3-B ขึ้นไป หรือ มาตรฐานที่เทียบเท่า เช่น GB19082 เป็นต้น
นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบไปถึงลักษณะทางกายภาพอื่นๆ ของชุด เช่น การทนแรงดึง การทนต่อแรงฉีก การทนต่อการเจาะ การทนการขีดข่วน และควรตรวจสอบความแข็งแรงของตะเข็บในการตัดเย็บและสมรรถนะของชุดอีกด้วย
สรุป 3 สิ่งนี้ต้องดูว่าชุด PPE แบบไหนถึงจะกันเชื้อโรคได้
-
มีมาตรฐาน EN 14126 คือ มาตรฐานการป้องกันอันตรายทางชีวภาพและการติดเชื้อ(เบื้องต้น)
-
สังเกตุ ISO เพิ่มเติมตามสภาพแวดล้อมการใช้งานจริง ว่าชนิดใดทนทานต่อเชื้อโรคได้
-
สังเกตุอักษร B (หมายถึง กันเชื้อโรคได้) จากรูปภาพข้างบนตัวอักษร B จะไปปรากฏในหลายๆ รูป เช่น รูปฝักบัวซึ่ง หมายถึง การป้องกันของเหลวที่เป็นเชื้อโรคกระเด็นใส่ หรือ รูปจุดวงกลมเล็กๆกระจายเต็ม หมายถึงป้องกันอนุภาคขนาดเล็กที่เป็นเชื้อโรคกระจายตัวที่จะเข้าสู่ร่างกายได้