เกร็ดความรู้

อุปกรณ์ป้องกันสารเคมี ปกป้องร่างกายเราจากอัตราย มีอะไรบ้าง?

ว่าด้วยเรื่องของการทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ แล้วมักจะเรื่องของสารเคมีบางชนิด บางตัวเขามาเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนหนึ่งของส่วนผสมในสินค้า ผลิตภัณฑ์ของเราแน่นอน ซึ่งการทำงานร่วมกับสารเคมีเหล่านั้นย่อมเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์อย่างเราในบางกรณี หากมีการสัมผัสโดยตรงกับร่างกายอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็มี
ฉะนั้นวันนี้เราต้องรู้จักที่จะปกป้องร่างกายและอวัยวะของเราให้สัมผัสกับสารเคมีเหล่านั้นให้น้อยที่สุด แต่ก่อนที่เราจะไปเรื่องการปกป้องร่างกายของเรา เรามารู้จักเจ้าสารเคมีกันสักนิดก่อนดีกว่าว่ามันน่ากลัวแค่ไหน

สารเคมีน่ากลัวแค่ไหน?
ต้องบอกก่อนเลยว่าสารเคมีนั้นถูกแยกจำแนกความอันตรายออกกลุ่ม 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ ความอันตรายทางกายภาพ, ความอันตรายต่อสุขภาพ และความอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแต่ละกลุ่มยังมีการจำแนกประเภทความอันตรายลงไปอีก (ซึ่งประเภทเหล่านี้เราจะมาอธิบายให้ท่านต่อในครั้งต่อไป) แต่หลักๆ เราคงต้องมาเน้นกันกลุ่มที่มีอันตรายต่อสุขภาพของเราเป็นหลักว่า เจ้าสารเคมีเหล่านี้มีความอันตรายอย่าง
  • สารเคมีบางชนิดสามารถติดไฟได้มากๆ แม้จะมีประกายไฟเพียงเล็กน้อย และยังสามารถมารถระเบิดสร้างความเสียหายได้มหาอีกด้วย
  • แม้ปราศจากความร้อน แต่สารเคมีก็ยังสามารถระเหยเป็นไอไปในอากาศ ทำให้เกิดความชื้นในบรรยากาศโดยรอบเพิ่มขึ้น และทำให้อากาศเป็นพิษ
  • การที่เราสัมผัสหรืออยู่ในพื้นที่ที่มีไอระเหยของสารเคมีมากเกินไป จะทำให้เราระคายเคืองต่อ หู ตา จมูก ปาก รู้สึกผิดปกติในกระเพาะอาหาร
  • หากสัมผัสโดยตรง หรือกระเด็นโดนร่างกายของเรา จะทำให้เกิดอาการแพ้ แสบ คัน หรือในบางกรณีถึงขั้นทำรายเซลล์เนื้อเหยื่อของเราเลยก็ว่าได้
  • หากเราสัมผัส หรือสูบดมสารเคมีเหล่านี้เป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบประสาท และการเปลี่ยนแปลงในด้านพันธุกรรม หรือก่อให้เกิดมะเร็งขึ้นในสุด
หัวข้อเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความน่ากลัวของสารเคมีที่เราใช้กันอยู่ แต่หากเราใช้และป้องกันได้อย่างถูกวิธีแล้วละก็เราอาจไม่ต้องพบกับสถานการ์ณที่ทำให้ร่างกายเราผิดปกติ ฉะนั้นการเรื่องอุปกรณ์ป้องกันสารเคมีจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นต่อการทำงานในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ เช่นนี้ มีอะไรบ้าง

อุปกรณ์ปกป้องร่างกายจากสารเคมี มีอะไรบ้าง?  
เราคงจะเคยได้ยินหรือผ่านตากับคำนี้กันมาบ้าง “Personal Protective Equipment” หรือ ชุดป้องกันอันตรายส่วนบุคคล  และนิยมเรียกันสั้นๆ ว่า “ชุด PPE” ซึ่งจะเป็นชุดหรืออุปกรณ์ที่ปกป้องตั้งแต่หัวจรดเท้าของผู้สวมใส่เลย และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มอุตสาหกรรม และปรับเปลี่ยนแตกต่างกันออกไปตามสถานที่การปฏิบัติงาน ซึ่งแน่นอนว่าโดยทั่วไปแล้ว อุปกรณ์ป้องกันเหล่านี้ จะขาดไม่ได้เลยคือ หมวกนิรภัย ที่ใช้ในการป้องกันของตกหล่นใส่ศรีษะ แต่ในงานที่ป้องกันสารเคมี ชุดป้องกันจะเน้นไปทางด้านกายภาพและช่องทางเดินหายใจเป็นหลัก เราไปดูกันว่าในส่วนของงานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี มีอะไรบ้างที่ช่วยปกป้องเรา

  1. แว่นครอบตา ( Eye protection)
ดวงตาของเราถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการทำงานทุกๆ ส่วน เพราะเราต้องใช้มองดุทุกอย่างตลอดเวลา ฉะนั้นการเลือกแว่นครอบตา(Eye Protection) จึงจำเป็นต้องเลือกให้ดี ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว วัสดุในการนำมาใช้ทำแว่นครอบตานี้จะเป็นแก้ว หรือพลาสติกหนาอย่างน้อย 3 มม.ควรมีวาล์วระบายความร้อนใช้สำหรับงานที่มีไอสารเคมี จะช่วยในการปกป้องดวงตาขณะปฏิบัติงานได้

2. หน้ากากครึ่งหน้า/เต็มหน้า (Half and Full Mask)
หน้ากากครึ่งหน้าชนิดมีแบบมีใส่กรอง เป็นอุปกรณ์ช่วยป้องกันระบบทางเดินหายใจจากการสูดดมสารเคมี สารอินทรีย์หรือก๊าซพิษต่างๆ โดยทั่วไปแล้วหน้ากากจะผลิตจากวัสดุซิลิโคนหรือ TPE/PP ที่มีความอ่อนนุ่มต่อผิวหนังเป็นพิเศษ มีทั้งแบบครึ่งหน้า(Half Mask) และแบบเต็มหน้า(Full Mask) ขึ้นอยุ่กับสถานที่ปฏิบัติงานว่าจะเลือกใช้แบบไหน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วหน้ากากกันสารเคมีเหมาะกับงานที่ต้องใช้ความปลอดภัยสูง เช่น  งานเชื่อม งานเจียรโลหะ ฉีดยาฆ่าแมลง พ่นสี งานอุตสาหกรรมเคมี น้ำมันก๊าดและแก๊ส เป็นต้น

3. ถุงมือกันสารเคมี (Chemical resistant Gloves)
สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี คือ การสวมถุงมือเพื่อป้องกันมือของเราจากการถูกสารเคมีเหล่ากัดทำร้ายผิดหนัง แต่ก็ใช่ว่าจะใช้ถุงมืออะไรก็ได้ในการนำมาปฏิบัติงานในด้านนี้ ถุงมือที่มีส่วนประกอบจากยางสังเคราะห์ (Neoprene Groves) ออกแบบมาเพื่อการต้านทานต่อสารเคมี, น้ำมัน, กรด, สารกัดกร่อน รวมทั้งสารทำละลาย สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้ถุงมือประเภทนี้ ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี, อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมผลิตสารเคมีต่าง ๆ (อ่านเพิ่มเติมได้ คลิกเลย”ถุงมือที่ใช้ในอุตสาหกรรมสัมผัสงานสารเคมีและน้ำมันได้ มีอะไรบ้าง?”)

4. ชุดกันสารเคมี (Protective Suit)
ชุดที่ใช้ปฏิบัติงานสารมี หรือชุดที่เราอาจจะคุณชินกับการเรียกว่า ชุด PPE กันติดปากจะเป็นลักษณะชุดสวมทั้งตัวตั้งแต่หัวจรดเท้ามีซิปหรือเป็นเทปกาว เปิดทับเพื่อการป้องกัน เชื้อโรคหรือสารเคมีไหลผ่านเข้าไปด้านใน ซึ่งชุดปฏิบัติงานสารเคมี จะมีแบ่งระดับอย่างชัดเจน ได้แก่ ระดับ A, B, C, และ D ซึ่งจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของสำหนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสหรัฐฯ (EPA) การใช้งานขึ้นอยู่สถานการ์ณ และความเข้มข้นของสารเคมีที่อยู่สถานที่ปฏิบัติงาน

5. รองเท้าบูทชนิดต้านสารเคมี (Chemical  boots)
               ร้องเท้าบูท (Boots) ชนิดนี้มีลักษณะทรงสูง ผลิตจากวัสดุที่ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี เช่น ไวนิล, นีโอพรีน, ยางสังเคราะห์, Nitrile, PVC เป็นต้น ช่วยปกป้องเท้าของเราได้จากการหยีบสารเคมีที่หกอยู่ในสถานที่ปฏิบัติงาน นอกจากกันสารเคมีแล้วยังสามารถป้องกันน้ำ และน้ำมัน รวมถึงเชื้อโรคต่างๆ ได้

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานในการใส่ชุดป้องกันร่างกายของเราในการปฏิบัติงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับสารเคมีต่างๆ ซึ่งจริงๆ แล้วหากเราต้องเข้าไปในพื้นที่ที่มีสารเคมีเข้มข้น อาจจะต้องมีชุดหรืออุปกรณ์ที่ปกป้องได้มากกว่า เพิ่มเข้ามาในชุดด้วย
สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาชุดอุปกรณ์ปกป้องร่างกายจากสารเคมี สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ได้เพียงแอด Line@ : @microtex หรือคลิก https://lin.ee/wgXULga

 

ขอบคุณข้อมูล :
  • com
  • recycle engineering
  • safety in thai

Related Posts