มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 2 ของคนไทย (เป็นอันดับที่ 2 ในผู้ชายรองจากมะเร็งตับ และเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิง) เป็นที่ทราบดีว่าสาเหตุสำคัญเกิดจาการสูบบุหรี่ หรือการอยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่ ปัจจุบันพบมะเร็งปอดในกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น เช่น กลุ่มที่ทำงานสัมผัสสารเคมี เช่น แร่ใยหิน โครเมียม นิกเกิล เป็นต้นและ ที่เป็นปัญหาที่สำคัญขณะนี้ คือ มลภาวะอากาศ โดยเฉพาะ PM 2.5 สามารถเพิ่มการเกิดมะเร็งปอดได้ 1-1.4 เท่า
ภัยใกล้ตัว ที่คุณอาจไม่รู้
คนอายุน้อย เป็นมะเร็งปอดเพิ่มมากขึ้น
ภัยของมะเร็งปอด ไม่แสดงอาการ รู้ตัวอีกที ระยะ 3-4
ผู้ที่เป็น มะเร็ง ส่วนมากในปัจจุบัน ไม่ได้สูบบุหรี่
มะเร็งปอด ในสถานการ์ปัจจุบัน
มะเร็งปอด’ คงไม่ใช่ปัญหาของอาจารย์แพทย์ท่านนี้เท่านั้น แต่เป็นปัญหาของประชาชนในภาคเหนือ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรศึกษาสาเหตุและร่วมกันแก้ไขสาเหตุที่ทราบเบื้องต้นแล้ว เช่น มลพิษทางอากาศ เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลามมากขึ้น รวมถึงโรคอื่นๆ ที่เป็นผลมาจากฝุ่นละอองขนาดเล็กด้วย
สถิติ ผู้ป่วย มะเร็งปอด มากที่สุด
รายงานโรคมะเร็งในประเทศไทยปี 2559-2561 วิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งจากโรงพยาบาลใน 14 จังหวัดทั่วประเทศไทย พบว่า ‘มะเร็งปอด’ เป็นอวัยวะที่มีอุบัติการณ์ปรับอายุมาตรฐาน (ASR) สูงเป็นอันดับที่ 2 ในผู้ชาย (22.8 รายต่อแสนประชากร) และอันดับที่ 4 ในผู้หญิง (11.5 รายต่อแสนประชากร)
เมื่อแยกตามภูมิภาคพบว่า ‘ภาคเหนือ’ มีอุบัติการณ์สูงที่สุด เท่ากับ 33.1 รายต่อแสนประชากรในผู้ชาย และ 19.9 รายต่อแสนประชากรในผู้หญิง ส่วน ‘ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ’ มีอุบัติการณ์ต่ำสุด เท่ากับ 16.9 รายต่อแสนประชากรในผู้ชาย และ 8.4 รายต่อแสนประชากรในผู้หญิง
PM2.5 ก่อมะเร็งได้จริงหรือ?
PM 2.5 (Particulate Matter) เป็นอนุภาคขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (เล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ 20 กว่าเท่า) เกิดจากการเผาไหม้เครื่องรถยนต์ การเผาในที่โล่ง และควันจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยอนุภาคที่เล็กมากนี้สามารถเข้าสู่ปอด และเข้าสู่กระแสเลือดได้ ก่อให้เกิดผลต่อสุขภาพ ในระยะสั้น เช่น แสบตา แสบจมูก ระคายเคืองตา ทำให้ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ หอบหืด และถุงลมโป่งพองกำเริบได้ ถ้าได้รับ PM 2.5 ปริมาณมากและยาวนาน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืด ภูมิแพ้ ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไต
นอกจากนี้ PM 2.5 ยังมีองค์ประกอบสารเคมีบางชนิด ที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ เช่น โพลีไซคลิกอะโรมาติก ไฮโครคาร์บอน เกิดจาการเผาไหม้ของสารอินทรีย์ไม่สมบูรณ์
ทั้งนี้ได้มีการศึกษาพบว่า PM 2.5 ปริมาณ 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เทียบเท่าการสูบบุหรี่ 1 มวน แม้ความเสี่ยงของ PM 2.5 ต่อมะเร็งปอดจะไม่มากเท่าการสูบบุหรี่ แต่ถ้าต้องได้รับ PM 2.5 ในปริมาณมาก เป็นเวลานานก็เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปอดได้
อาการของ มะเร็งปอด
อาการของระบบทางเดินหายใจ
- ไอเรื้อรัง อาจมีหรือไม่มีเสมหะก็ได้
- ไอเป็นเลือด
- หอบเหนื่อย หายใจลำบาก
- เนื่องจากก้อนมะเร็งนั้นกด
- เบียดหลอดลม
- เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
- ปอดอักเสบ มีไข้
อาการของ มะเร็งปอด
อาการของระบบอื่นๆ
- เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- บวมที่หน้า แขน คอ และทรวงอกส่วนบนเนื่องจากมีเลือดดำคั่ง
- เสียงแหบ เพราะมะเร็ง
- ลุกลามไปยังเส้นประสาทบริเวณกล่องเสียง
- ปวดกระดูก
- กลืนลำบาก เนื่องจากก้อนมะเร็งกดเบียดหลอดอาหาร
- อัมพาต เนื่องจากมะเร็งแพร่กระจายไปยังสมองหรือไขสันหลัง
- มีตุ่มหรือก้อนขึ้นตามผิวหนัง
สัญญาณเตือน
- ไอเรื้อรัง ติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์
- ไอเป็นเลือดหรือมีเสมหะปนเลือด
- เจ็บหน้าอก น้ำหนักลด
- เหนื่อยง่าย
- อ่อนเพลีย เบื่ออาการ
- บางรายอาจมีไข้ต่ำๆ หรือปอดติดเชื้อซ้ำซาก
การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง
- งดสูบบุหรี่
- ป้องกันตัวจากการสัมผัสแร่ใยหิน หรือมลภาวะ
- หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
- รับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
สอบถามข้อมูลตัวแทนฝ่ายขายเพิ่มเติม หรือขอใบเสนอราคา
ได้ที่ Call Center : 034-878762 ต่อ 3
หรือสามารคติดตามเราได้ที่ : คลิกที่นี่
สายด่วน 083 989 7512 (ฝ่ายขายทางโทรศัพท์)