เกร็ดความรู้

12 มาตรฐาน เครื่องหมาย…ที่ควรรู้คู่ ถุงมือนิรภัย

เนื่องจากถุงมือมีหลากหลายประเภทซึ่งแบ่งประเภทตามการใช้งาน ทั้งงานเคมี งานไฟฟ้า กันบาดกันทะลุ  ฯลฯ ทำให้การเลือกใช้ถุงมือสำหรับงานอุตสาหกรรมจึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก กว่าถุงมือที่ตอบโจทย์การใช้งาน ทำงานสะดวก และพร้อมด้วยความปลอดภัย เราจึงมีวิธีมาแนะนำวิธีการเลือกใช้ถุงมือที่ง่ายและเร็วมาให้ครับ

ประเภทมาตรฐานถุงมือสำหรับงานอุตสาหกรรม
การเลือกถุงมือสำหรับการทำงานนั้น เบื้องต้นควรเลือกถุงมือที่มีมาตรฐาน เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัยเมื่อเราสวมใส่ใช้งาน ซึ่งมาตรฐานที่มีการยอมรับกันทั่วโลกคือ มาตรฐาน EN ซึ่งจะแบ่งเป็นประเภทต่างๆดังนี้
  • EN374 ถุงมือสำหรับป้องกันงานเคมีและอนุภาคขนาดเล็ก
  • EN388 ถุงมือสำหรับป้องกันงานเครื่องจักร
  • EN407 ถุงมือสำหรับป้องกันงานที่ใช้ความร้อนสูง
  • EN381 ถุงมือสำหรับป้องกันงานเลื่อยด้วยมือ
  • EN511 ถุงมือสำหรับป้องกันงานเย็น
  • EN659 ถุงมือสำหรับป้องกันงานดับเพลิง
  • EN421 ถุงมือสำหรับป้องกันงานรังสี, ไอออนและสารเจือปนรังสี
  • EN60903 ถุงมือสำหรับป้องกันงานไฟฟ้า
  • EN1082 ถุงมือสำหรับป้องกันมือจากของมีคม เช่นมีด
  • EN420 ถุงมือสำหรับป้องกันงานทั่วไป
  • EN455 ถุงมือสำหรับป้องกันงานการแพทย์

ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถุงมือที่ใช้อุตสาหกรรมจะต้องผ่านมาตรฐานหลักๆ  คือมาตรฐาน EN388, EN407, EN511 ซึ่งมีความหมาย ที่ทางกลัฟเท็กซ์ สรุปมาให้ทุกท่านเข้าใจง่ายๆ ดังต่อไปนี้

มาตรฐาน EN388
มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่บ่งบอกถึงลักษณะทางกายภาพเชิงกลของถุงมือ ว่ามีความทนต่อการใช้งานในลักษณะใดบ้าง โดยจะใช้เลข 4 หลัก โดยในเลขแต่ละหลักจะบ่งบอกถึงลักษณะการทนต่อการใช้งานที่ต่างกันดังต่อไปนี้
การทนต่อการเสียดสี: ขึ้นอยู่กับจำนวนรอบที่ต้องผ่านการเสียดสี
การทนต่อการบาดคม: ขึ้นอยู่กับจำนวนรอบต้องตัดผ่านถุงมือตัวอย่างด้วยความเร็วคงที่.
การทนต่อแรงเฉือน: ขึ้นกับแรงเฉือนที่กระทำต่อตัวอย่าง.
การทนต่อการเจาะทะลุ: ขึ้นกับแรงเจาะในลักษณะแบบเป็นจุดเดียวที่กระทำต่อตัวอย่าง.

มาตรฐาน EN407
มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่บ่งบอกถึงลักษณะในการกันความร้อนของถุงมือในลักษณะต่างๆ โดยจะใช้เลข 6 หลัก โดยในเลขแต่ละหลักจะบ่งบอกถึงลักษณะการทนต่อการใช้งานที่ต่างกันดังต่อไปนี้
การต้านทานเปลวไฟ (Resistance to flammability) – (ประสิทธิภาพระดับ 0 – 4)
ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่วัสดุถุงมือไหม้ไฟและลามออกมา หลังจากได้นำสิ่งของที่ติดไฟออกไปแล้ว. โดยที่ตะเข็บของถุงมือไม่หลุดออกมาหลังจากที่ติดไฟเวลา 15 วินาที.
การทนต่อการสัมผัสของร้อน (Contact heat resistance) – (ประสิทธิภาพระดับ 0 – 4)
ขึ้นอยู่กับช่วงอุณหภูมิ (100-500 องศาเซลเซียส) ที่ผู้ใช้จะไม่รู้สึกเจ็บปวดอย่างน้อย 15 วินาที ซึ่งถ้าหากได้ EN ข้อมูลระดับ 3 หรือสูงกว่าในการทดสอบนี้ จะถือว่าผลิตภัณฑ์นี้ได้ EN อย่างน้อย 3 ระดับในการทดสอบเปลวไฟด้วย แต่ถ้าหากไม่ได้ ระดับสูงสุดจะได้เพียงที่ระดับ 2
การหน่วงความร้อน (Convective heat resistance) – (ประสิทธิภาพระดับ 0 – 4)
ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ถุงมือสามารถหน่วงเวลาการโอนความร้อนจากเปลวไฟ โดยระดับประสิทธิภาพนี้จะถูกระบุก็ต่อเมื่อถ้าได้ประสิทธิภาพ level 3 หรือ 4 ในการทดสอบ flammability
การต้านทานรังสีความร้อน (Radiant heat resistance) – (ประสิทธิภาพระดับ 0 – 4)
ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ถุงมือสามารถหน่วงเวลาการโอนความร้อนจากรังสีความร้อน โดยระดับประสิทธิภาพนี้จะถูกระบุก็ต่อเมื่อถ้าได้ประสิทธิภาพ level 3 หรือ 4 ในการทดสอบ flammability.
การทนต่อสะเก็ดโลหะหลอมขนาดเล็ก (Resistance to small splashes of molten metal) – (ประสิทธิภาพระดับ 0 – 4)
จำนวนโลหะหลอมหยดลงบนถุงมือที่จะทำให้ถุงมือตัวอย่างร้อนเพื่อระบุระดับ โดยระดับประสิทธิภาพนี้จะถูกระบุก็ต่อเมื่อถ้าได้ประสิทธิภาพ level 3 หรือ 4 ในการทดสอบ flammability.
การทนต่อสะเก็ดโลหะหลอมขนาดใหญ่ (Resistance to large splashes of molten metal) – (ประสิทธิภาพระดับ 0 – 4)
น้ำหนักของโลหะหลอมที่จะทำให้เกิดรูทะลุเข้าไปหลังถุงมือตัวอย่าง โดยการทดสอบจะล้มเหลวหากโลหะหลุดคาที่ถุงมือหรือหากมีการติดไฟ

มาตรฐาน EN511
มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่บ่งบอกถึงลักษณะในการกันความเย็นของถุงมือที่ – 50 องศาเซลเซียส ในลักษณะต่างๆ โดยจะใช้เลข 3 หลัก โดยในเลขแต่ละหลักจะบ่งบอกถึงลักษณะการทนต่อการใช้งานที่ต่างกันดังต่อไปนี้
การหน่วงความเย็น (Resistance to convective cold) – (ประสิทธิภาพระดับ 0 – 4)
ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติฉนวนกันอุณหภูมิของถุงมือที่ได้จากการวัดการหน่วงเวลาในการส่งผ่านความเย็น
การทนต่อการสัมผัสของเย็น (Resistance to contact cold) – (ประสิทธิภาพระดับ 0 – 4)
ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติฉนวนกันอุณหภูมิของถุงมือที่ได้จากการสัมผัสของเย็น
การซึมเข้าของน้ำ (Permeability by water) – (ประสิทธิภาพระดับ 0 – 1)
0 = น้ำซึมเข้าได้หลังจากอยู่ในอากาศเย็น 30 นาที; 1 = ไม่มีน้ำซึม.

ขอบคุณข้อมูล :
  • Thai-Safetywiki
  • Safety Thai
  • veriSAFE

Related Posts